การฟื้นตัวของธุรกิจสำหรับ SMEs ในไทย

SMEs

การฟื้นตัวของธุรกิจสำหรับ SMEs ในไทย กับสังคมไร้เงินสด

การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการชำระเงินธรรมดาเป็นการชำระเงินแบบดิจิทัล ทำให้การใช้เงินสดทางกายภาพลดลง ส่งผลต่อการใช้เงินสดลดลงเมือเทียบกับปีที่ผ่านมา การใช้เงินสดแบบไม่ใช้เงินสดมีประโยชน์ต่อธุรกิจและลูกค้าเหมือนกัน ตั้งแต่การลดการแพร่กระจายการติดเชื้อไปการชำระเงินที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และรวมถึงประชาชนให้การใส่ใจเกี่ยวกับปัญหาการแพร่กระจายของไวรัสนี้ ทำให้แพลตฟอร์มการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ เช่น e-wallets และแอปพลิเคชันมือถืออื่นๆ ได้รับความนิยม

สังคมไร้เงินสดในประเทศไทยได้รับความนิยมมากขึ้นจากช่วงเวลาที่ผ่านมา

เห็นได้จากธุรกิจรายย่อยหันมาใช้บริการชำระเงินออนไลน์มากขึ้น โดยปกติการชำระเงินออนไลน์มักใช้ห้างสรรพสินค้า แต่ตอนนี้พวกเราสามารถเห็นได้ทั่วไปตามร้านค้า จากสถานการณ์โควิด-19 ธุรกิจ SMEs จะเห็นว่า รายรับของแม่ค้าพ่อค้าลดลงและมากกว่าครึ่งกลัวว่าจะเลิกกิจการ การชำระเงินแบบไม่ใช้เงินสดได้มีส่วนช่วยให้ธุรกิจฟื้นตัว

พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปกับการปรับตัวของธุรกิจ

พฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนนิสัยการใช้จ่ายและตอนนี้ประชาชนจะซื้อสินค้าในท้องถิ่นเพื่อลดค่าใช้จ่ายลงด้วยความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นสำหรับการชำระเงินแบบไม่ใช้เงินสด ธุรกิจควรมีการปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อคว้าโอกาสในการรักษาและเติบโตภายในกลุ่มตลาดนี้

E-wallet ช่วยธุรกิจอย่างไร 

  • ช่วยเพิ่มการรักษาลูกค้าและความภักดี 
  • การชำระเงินแบบไร้เงินสดของธุรกิจ SMEs ที่มีหลายช่องทางสามารถมรวมการชำระเงินผ่านอุปกรณ์ทุกเครื่อง การใช้เงินสดแบบไร้เงินสดจึงเป็นไปได้สำหรับ SME ทุกประเภทไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่
  • มีความสะดวกสบาย ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ
  • ลดค่าใช้จ่ายด้านต้นทุน เช่น ค่าเอกสาร โดยการย้ายเข้าสู่ธุรกรรมแบบไม่ใช้เงินสด 
  • อุปสรรคหลักในการชำระเงินแบบไม่ใช้เงินสด 

  • มีการรายงานว่าผู้ให้บริการระบบคลาวด์หรือดิจิทัลจำนวนมากเสนอให้มีการรักษาความปลอดภัยสำหรับการชำระเงินดิจิทัลของคุณมากขึ้น และความรับผิดชอบในการรักษาข้อมูลให้ปลอดภัยของลูกค้า
  • การไม่มีอุปกรณ์สมาร์ทโฟนเป็นสื่อกลางในการชำระเงิน ดังนั้นพวกเขาจึงไม่มีโอกาสได้รับความช่วยเหลือต่างๆ
  • การสนับสนุนและการเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมไร้เงินสด

    การได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างต่อเนื่องเห็นได้ จากการชำระเงินออนไลน์ของรัฐ ธนาคารและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทำงานร่วมกันเพื่อสนับสนุนธุรกิจ SMEs และตอบความต้องการของพวกเขาเพื่อให้ธุรกิจได้ฟื้นตัวได้

    สิ่งที่ต้องระวังในยุคที่เราใช้มือถือจ่ายเงินแทนเงินสด 

  • พกมือถือไว้กับตัวเอง และแล้วก็ตั้งรหัสผ่านก่อนเข้าถึงการใช้งานที่ผู้ไม่ประสงค์ดีเดาได้ยาก
  • จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าประเทศไทยต้องมีรองรับการชำระเงินแบบไม่ใช้เงินสดอย่างครอบคลุม ผู้ให้บริการ ต้องพัฒนาอย่างรวดเร็วเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผู้ได้รับการบริการและเพื่อเสริมความคล่องตัวให้กับธุรกิจขนาดเล็ก

    ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ มาร์เก็ตติ่ง 
    เวปไซด์ mee-money.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

    ห้าขั้นตอนหลักของ SMEs ที่ธุรกิจเกิดใหม่ในช่วงโควิด ต้องคำนึงถึง!

    SMEs

    ต่อให้เป็นช่วงที่ดีที่สุดที่จะเปิดธุรกิจหรือทำอะไรใหม่ๆ ก็ต้องยอมรับว่าการตั้งต้นทำอะไรสักอย่างนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ยิ่งมาในช่วงที่ยากลำบากในภาวะที่โควิด-19 เดี๋ยวมาเดี๋ยวหาย แล้วก็เดี๋ยวกลับมาอีกอย่างนี้ ก็ยิ่งยากเย็นยิ่งกว่าเข็นครกขึ้นภูเขา

    สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทะลุข้อจำกัดทั้งการเป็นหน้าใหม่ และการส่งไม้ต่อให้กับรุ่นถัดไป ทำให้บางรายต้องหยุดกิจการไปเพราะสาเหตุจากการที่ตั้งรับไม่ทันกับสถานการณ์ 

    ต่อไปนี้เป็นห้าขั้นตอนที่มาจากประสบการณ์จริงของธุรกิจที่ต้อง”ผ่าน”เพื่อที่จะแจ้ง”เกิด”ได้สำเร็จ

    ขั้นตอนที่หนึ่ง ถือกำเนิด

    เมื่อมีไอเดียธุรกิจแล้วก็ต้องกลั่นกรองออกมาให้ได้ว่าสินค้าและบริการนั้นคืออะไร ในขั้นตอนนี้ต้องใช้เวลาคิดให้ถี่ถ้วน และทดลองออกสู่สายตาคนรอบข้างเพื่อดูว่าได้รับการตอบรับที่ดีหรือไม่ ที่สำคัญต้องพิจารณาว่าสินค้าหรือบริการนั้นๆเข้ากับความต้องการของตลาดด้วยหรือเปล่า เพราะต่อให้มีสินค้าที่ดีสุดๆ การตอบรับโอเค แต่ตลาดไม่ต้องการ การเก็บพับความคิดไปก่อนอาจจะดีกว่า หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องหาตลาดที่ตรงกับสินค้าที่ตัวเองนำเสนอให้ได้

    ในช่วงนี้ธุรกิจยังมีขนาดเล็ก สิ่งที่ต้องใช้คือครามเร็วในการปรับเปลี่ยน ต้องไม่ชักช้า เมื่อลูกค้ามีการตอบสนองไปในทิศทางใดก็ต้องกลับมาพิจารณาโดยด่วนว่าสินค้าบริการที่ทำอยู่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรหรือไม่

    ขั้นตอนที่สอง อยู่ให้รอด

    เมื่อได้รับการพิสูจน์มาแล้วในระดับหนึ่งว่าสินค้าบริการได้ผ่านการทดสอบตลาด จนมีตลาดรองรับบ้างแล้ว สิ่งที่ต้องทำในตอนนี้คือการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าให้ได้เพราะว่าฐานลูกค้ายังไม่แข็งแรง จึงจำเป็นจะต้องทำงานหนักกับการดึงดูดใจลูกค้าให้กลับมาใช้สินค้าบริการอย่างต่อเนื่อง

    ดังนั้นความพึงพอใจของลูกค้า การสะสมชื่อเสียง เป็นทั้งสิ่งที่เปราะบางและเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสนใจดูแล เพราะความไม่สม่ำเสมอในการบริการเพียงครั้งเดียวอาจหมายถึงจำนวนลูกค้าที่หดหายไป ไม่เหมือนกับองค์กรที่มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้ายาวนานที่มีโอกาสในการผิดพลาดและแก้ตัวได้มากกว่า

    อีกเรื่องที่ต้องทำคือ การรักษาผลกำไรเอาไว้ให้เหนียวแน่น เพราะคงไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้ ดีไม่ดีต้องทำโปรโมชั่นเพื่อดึงลูกค้าให้อยู่กับเรานานๆ จำเป็นต้องรัดกุมในเรื่องการใช้จ่าย แต่ต้องไม่จำกัดไว้หากการใช้จ่ายนั้นเป็นไปเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าได้

    ขั้นตอนที่สาม เก็บเกี่ยวความสำเร็จ

    ถ้าผ่านขั้นตอนที่รักษาความสัมพันธ์กับลุกค้าไว้ได้ หมายถึงมีชื่อเสียงและมาตราฐานที่ลูกค้าไว้วางใจ ดูเหมือนไม่มีอะไรมากกว่านี้แล้ว แต่สำหรับเจ้าของธุรกิจขั้นตอนนี้ก็สำคัญ เพราะว่าการกำหนดบทบาทให้รู้ชัดเจนต่อจากนี้ จะช่วยให้รักษาธุรกิจได้อีกยาวนาน หากคิดจะเป็น “ราชา” ก็ต้องยอมรับการทำงานหนักแต่อาจจะหมายถึงรายได้ที่จำกัดเพราะทำงานแบบไม่มีปล่อยให้ใครช่วยก็ต้องเติบโตได้จำกัด แต่หากต้องการความมั่งคั่งสิ่งที่ทำอาจจะเป็นการเสียสละเงินในระยะแรกหาคนมีฝีมือมาจัดการเรื่องยุ่งๆ เพื่อจะได้มีเวลาในการเติบโตต่อไป

    และสุดท้ายต้องกันเงินสำรองไว้สำหรับการลงทุนเพื่อการเติบโต ในช่วงการเก็บเกี่ยวผลกำไร ไม่สามารถนำไปใช้กับความรื่นเริงหรือตอบแทนตัวเองได้ทั้งหมดแต่ต้องเก็บหรือต่อยอดเพื่อให้เงินส่วนนี้กลายเป็นฐานในการเปิดธุรกิจเดิมอีกสาขา หรือก้าวข้ามไปสู่ธุรกิจใกล้เคียงกัน

    ขั้นตอนที่สี่ พุ่งไปสู่เป้าหมายที่สูงขึ้น

    ขั้นตอนนี้ไม่ว่าในขั้นตอนที่สามคุณจะเลือกอย่างไร มันก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ที่จะขยายขนาดธุรกิจ เพราะมันง่ายมากที่เมื่อธุรกิจที่ประสบความสำเร็จแล้วจะมีคนที่ก้าวเข้ามาเป็นคู่แข่งและเห็นโอกาสที่คุณเคยเห็นมาก่อนเพราะคุณทำให้มันชัดเจนขึ้นเรียบร้อยแล้ว 

    เป็นชั้นตอนที่ต้องลงทุนกับคน คุณอาจจะต้องคัดเลือกคนทำงานที่สำคัญๆของคุณเอาไว้แล้ว และรักษาเขาไว้ให้ได้ หรือแม้แต่สร้างคนใหม่ที่สามารถเป็นตัวสำรองคนสำคัญทั้งหลาย

    ในขั้นตอนนี้ยังต้องคิดอย่างจริงจังกับการคืนกำไรให้กับลูกค้าที่ช่วยทำการโปรโมทให้คนอื่นรู้จักเรามากขึ้น โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ทุกการแนะนำบอกต่อมีความหมายต่อธุรกิจในปัจจุบันมาก

    ขั้นตอนที่ห้า ใช้ทรัพยากรให้เต็มที่และเป็นระบบ

    อันที่จริงการทำให้เป็นระบบอาจเกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนแรกๆก็เป็นได้ แต่มันยังไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นที่สุด แต่ถ้าหากว่าผ่านขั้นตอนที่สี่ที่ขยายธุรกิจได้แล้วเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องที่จะขาดไม่ได้ เพราะว่าเมื่อขนาดธุรกิจใหญ่ขึ้น มันเริ่มเป็นไปไม่ได้ที่จะมองเห็นรายละเอียดทุกอย่างที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบ “ราชา” หรือ ระบบ “อาเสี่ย” 

    โดยเฉพาะในส่วนการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า เพราะส่วนนี้ยังไงก็ยังเป็นหัวใจหลัก ความสามารถในการติดตามมอนิเตอร์ว่า ลูกค้าคิดยังไงกับเรา หรือวิธีการของพนักงานในการสื่อสารกับลูกค้าเป็นไปอย่างที่องค์กรต้องการหรือเปล่า มีความสำคัญที่สุดเพราะเป็นจุดชี้เป็นชี้ตายของทุกธุรกิจเสมอ

    เรื่องการเงินมีความสำคัญเสมอที่เจ้าของธุรกิจต้องใส่ใจ แต่เมื่อมาถึงจุดนี้ธุรกิจมักมีขนาดใหญ่พอที่จะมีนักบัญชีจัดการ เจ้าของธุรกิจต้องปรับบทบาทจากการควบคุมกำกับแบบทุกรายละเอียดมาเป็นการตรวจสอบแบบองค์รวม (แต่ก็ยังต้องตรวจสอบทิ้งไม่ได้) แล้วหันมาใส่ใจกับกิจกรรมทางการตลาดที่ไม่สามารถเหวี่ยงเม็ดเงินสู่การประชาสัมพันธ์แบบเหวี่ยงแหเหมือนโลกยุคเก่าได้อีกแล้ว แต่ต้องหันมาใส่ใจลูกค้าและช่องทางการสื่อสารที่ลูกค้าใช้อย่างจริงจัง และลงเม็ดเงินกับการประชาสัมพันธ์ที่ไปหากลุ่มลูกค้าที่ต้องการจริงๆ

    ทั้งหมดห้าขั้นตอนนี้ ไม่ได้จำกัดที่ขนาดของธุรกิจแต่เป็นขั้นตอนที่แต่ละธุรกิจต้องพบเจอและผ่านมันไปให้ได้ แม้ว่าไม่ใช่สูตรสำเร็จที่เป็นคำตอบ แต่เป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกได้ว่าในตอนนี้คุณอยู่ที่ขั้นตอนไหนและควรทำอะไรเพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืนแม้ในช่วงยากลำบากเช่นนี้

    ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ มาร์เก็ตติ่ง 
    เวปไซด์ mee-money.com