แม้ว่าเงินอาจจะซื้ออะไรก็ตามไม่ทุกอย่างก็จริง แต่ปัจจัยการดำรงชีวิตของมนุษย์ก็ไม่พ้นเรื่องเงินอยู่ดี จะเห็นได้ว่าเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเสมอ ไม่ว่าจะมูลค่าเท่าใดก็ตาม แต่เวลาไม่มีก็ลำบากจริงๆ เลยทีเดียว แต่ในขณะเดียวกันด้วยการซื้อขาย จับจ่ายใช้สอยในปัจจุบันทำได้ยากขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคมีราคาสูงขึ้น จนไม่สามารถมีกำลังซื้อได้มากเหมือนเมื่อก่อน จึงเป็นที่มาของ Challenge หนึ่งที่มีชื่อว่า “No Spend Challenge” ซึ่งเป็น Challenge ที่ทำกันในประเทศสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังตอบโจทย์ในประเทศไทยมากพอสมควร

ทำไม No Spend Challenge ถึงตอบโจทย์ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับแรงจูงใจของตัวคุณก่อน คุณจะประสบความสำเร็จมากขึ้นและมีโอกาสน้อยที่จะเลิก เมื่อคุณรู้ว่าทำไมคุณถึงทำอย่างนั้น หากคุณแค่อยากลองและดูว่าเงินของคุณไปถึงไหนให้ลองทำสิ่งที่ท้าทายให้สั้นลง โดยแก้เรื่องการใช้จ่ายนี่แหล่ะ ว่าจะทำ No Spend Challenge สักกี่เดือนเพื่อทำภารกิจที่รอคอยให้สำเร็จตามเป้าหมาย คนที่มีแพลนที่ยาวกว่า (เช่น สัปดาห์ หรือเดือน) จะต้องการแรงจูงใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นว่าเพราะอะไร มีคุณค่าต่อเรามากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะเป็นคำถามก่อนลงมือทำ No Spend Challenge ของคุณว่ามีเป้าหมายอะไร โดยให้เหตุผลไปว่าเพราะอะไรถึงตัดสินใจ ต้องตอบคำถามของตนเองให้ได้ดังนี้
ยกตัวอย่างการตั้งคำถามใน No Spend Challenge
ทำไมถึงต้องการทำสิ่งที่ท้าทายใน No Spend Challenge? (เพื่อประหยัดเงินมากขึ้น)
ทำไมต้องการประหยัดเงินมากขึ้น? (เพื่อปลดหนี้)
ทำไมถึงอยากปลดหนี้? (เพราะเราอยากเก็บเงินไว้เองมากกว่า)
ทำไมถึงอยากเก็บเงินไว้ใช้เองมากกว่า? (เพราะเราอยากมีเงินไว้ใช้จ่ายของแบบครอบครัว)
ทำไมคุณถึงต้องการใช้เงินกับสิ่งต่างๆ ร่วมกันเป็นครอบครัว? (เพราะเราให้ความสำคัญกับเวลาและเงินเป็นครอบครัว)

การเตรียมความพร้อมก่อนเวลา เป็นส่วนสำคัญมากของความท้าทาย เขียนวันที่เริ่มต้นในตัววางแผนชีวิตของคุณ ขอแนะนำให้คุณทำอย่างน้อยหนึ่งหรือสองสัปดาห์หลังจากที่คุณมีเวลาเตรียมตัว เพื่อรู้วิธีการทำ No Spend Challenge และเพื่อลดการหักดิบจากบางสิ่งที่คุณต้องทำล่วงหน้า ได้แก่
ตุนของกินของใช้และของว่างเพื่อที่คุณจะได้ไม่กินข้าวนอกบ้าน
วางแผนกิจกรรมฟรีที่คุณสามารถทำในครอบครัวได้
เมื่อทำไปนานๆ ลองนึกถึงผลของมันดูว่าเราจะได้มากน้อยแค่ไหน

การทำ No Spend Challenge จะขึ้นอยู่ที่เราสะดวกทำกี่ครั้งต่อสัปดาห์ ถ้าคนที่มีรายได้ต่อเดือนสูง จะทำแบบ 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ในการปรับวิธีการใช้จ่าย ส่วนคนที่มีรายได้จำกัด อาจจะงดการใช้จ่ายโดยการทำเพียง 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์เพื่อประคับประคองตนเองไปก่อน นอกจากนี้ No Spend Challenge ตอบโจทย์ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ได้ดีมาก เพราะเรากำลังประสบปัญหาเรื่องการเงินครั้งใหญ่ เราจำเป็นต้องมีเงินสำรองเพื่อตัวเองจะได้ไม่ลำบากในอนาคต และหากพ้นช่วงลำบากนี้ไป เราอาจจะต้องขอบคุณ No Spend Challenge งามๆ ที่ทำให้ฝ่าฟันได้เลยล่ะ
ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ GUรู็ การเงิน
เวปไซด์ mee-money.com