PayPal เปิดตัว Stablecoin PYUSD

PayPal เปิดตัว Stablecoin PYUSD

บริษัท PayPal ยักษ์ใหญ่ทางด้านการเงินกระโดดเข้าสู่วงการคริปโตเตรียมสร้างเหรียญ Stablecoin ที่มีชื่อว่า PYUSD เมื่อพูดถึงคริปโตเคอเรนซี่ จะมีเหรียญประเภทหนึ่งชื่อว่า Stablecoin โดยเหรียญประเภทนี้จะไม่มีความผันผวนเนื่องจากจะมีการผูกค่าเงินด้วยทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นเงิน US Dollar หรือพันธบัตรรัฐบาล Stablecoin จึงนิยมใช้มาเป็นคู่เทรดของเหรียญคริปโตตัวอย่างเช่น USDT, USDC หรือ BUSD

ภาพ wallpapers.com

PYUSD ก็คือหนึ่งใน stablecoin ที่จะผูกมือค่าเงินกับ USD และอยู่บนเชนของ Ethereum โดยเหรียญ PYUSD จะได้รับการออกโดยบริษัท Paxos ซึ่งเป็นบริษัทเดียวกับที่ออกเหรียญ BUSD ให้กับ Binance ซึ่งนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่ PayPal เข้ามา ในวงการคริปโต ก่อนหน้านี้บริษัทได้มีการสร้าง PayPal Network เพื่อไว้แลกเปลี่ยนเหรียญ BTC, BCH, LTC และ ETH การที่บริษัท PayPal เข้ามาทำเหรียญ PYUSD มีแนวโน้มที่จะทำให้คนส่วนใหญ่เข้ามาศึกษาคริปโตเคอเรนซี่มากยิ่งขึ้น เพราะว่าบริษัท PayPal อยู่ในแวดวงของการเงินมานานและเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก นอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดไว้ในตัวอื่น ๆ ได้อีกด้วย และการใช้ Ethereum Chain ก็อาจจะทำให้มีคนสนใจใน ETH

มากขึ้นและอาจจะเป็นสินทรัพย์ที่มีการเติบโตในอนาคต แต่เมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย การที่PayPal เข้ามาทำแบบนี้ เป็นการเข้ามาแบบรวมศูนย์มากๆ และมีความเป็นไปได้ที่ผู้ใช้งานจะสูญเสียความเป็นส่วนตัวไปเนื่องจาก PayPal สามารถควบคุมและดูแลบัญชีของผู้ใช้งานได้นั่นเอง ซึ่งมันเป็นสิ่งตรงกันข้ามกับคริปโตเคอเรนซี่ที่ต้องการความกระจายศูนย์ และในการควบคุมความเสี่ยงจากการสูญเสียเงินเหล่าที่เป็นผู้ใช้งานก็จำเป็นที่จะต้องเชื่อใจบริษัทที่มีการออกเหรียญนั้นๆ ตัวอย่างเช่น PYUSD ของ PayPal เราก็จำเป็นที่จะต้องเชื่อมั่นว่าเขานั้นมีการผูกค่าเงิน 1:1 และไม่ได้มีการโกงลูกค้า ดังนั้นแล้วในแง่มุมของ Stablecoin มันมีความรวมศูนย์อยู่ในตัว

ตอนนี้ PYUSD ยังคงใช้ประโยชน์ได้แค่เพียงการแลกเปลี่ยนกับเหรียญคริปโตอื่น ๆ ใน PayPal Network เท่านั้น ยังไม่มีประโยชน์ด้านอื่น ๆ

การกำกับดูแลเหรียญ Stablecoin

ภาพ Pexels/David McBee

อย่างที่รับรู้กันว่าประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ต้องการกำกับคริปโตเคอเรนซี่ และมีท่าทีที่ไม่เป็นมิตรดังนั้น Stablecoin ก็ต้องถูกกำกับดูแลด้วยเช่นเดียวกัน ส่วนนี้ทางประธาน FED คุณ Jerome Powell ได้บอกว่าทาง FED ออกโรงที่จะกำกับดูแลด้วยตัวเอง โดยธนาคารที่มีการถือเหรียญ, ออกเหรียญ, หรือโอนเหรียญประเภท Stablecoin จำเป็นที่จะต้องรายงานให้แบงค์ชาติรับรู้ ซึ่งการที่ FED ออกมาบอกแบบนี้ก็หมายความว่าทางแบงก์ชาติจะดูแล Stablecoin ในตลาดคริปโต ซึ่งมันอาจจะทำให้ SEC ไม่มีอำนาจในส่วนนี้ไปนั่นเอง อย่างไรก็ตามเราคงต้องดูท่าทีของ Gary Gensler ว่าจะมีท่าทีกับ PYUSD และเหรียญ Stablecoin เหรียญอื่น ๆ อย่างไร

ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ เศรษฐกิจโลก 
เวปไซด์ mee-money.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

จะเทรด Forex ต้องรู้จักกับ Finviz

จะเทรด Forex ต้องรู้จักกับ Finviz

ตลาด Forex ถือว่าเป็นอีกหนึ่งตลาดที่นักลงทุนใช้ในการเก็งกำไรกันมาอย่างยาวนานโดย Forex นั้นเป็นสินทรัพย์ประเภทคู่เงิน โดยการเก็งกำไรจะขึ้นอยู่กับการแข่งค่าหรืออ่อนค่าของคู่เงินนั้น ๆ แต่ว่าคู่เงินบนโลกมีมากมายเลยทีเดียวไม่ว่าจะเป็น USD, AUD, EUR, GBP, JPY และอื่น ๆ คำถามก็คือเราควรเลือกคู่เงินไหนมาเทรดดี ในเมื่อตลาดมีหลายคู่เงินให้เราเลือก

วันนี้จะมาแนะนำเว็บไซต์ที่จะทำให้เพื่อนๆ ที่เป็นนักลงทุนหรือว่านักเทรดมือใหม่สามารถเลือกคู่เงินในการเทรดในตลาด Forex ได้ไม่ยาก และสามารถคาดเดาทิศทางของตลาดได้ง่ายอีกด้วยโดยเว็บไซต์นี้มีชื่อว่า Finviz

ใช้ Finviz ช่วยดูทิศทางตลาด

เว็บไซต์ Finviz เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข่าวสาร สินทรัพย์การลงทุน รวมไปถึงภาพรวมของตลาดไว้ด้วยกันโดยในเว็บไซต์จะมีหน้าต่างของตลาด Forex ให้เราดูได้ด้วย โดยการคลิกที่แถบ Forex ที่อยู่บริเวณด้านบนของเว็บไซต์

เมื่อเข้ามาสู่หน้าภาพรวมตลาด Forex แล้ว เว็บไซต์จะแสดงแผนภาพของราคาคู่เงิน ที่เป็นคู่เงินหลักตัวอย่างเช่น GBP/USD , EUR/USD, JPY/USD และแสดงแถบสี ถ้าเป็นสีเขียวแสดงว่าตลาดกำลังเป็นขาขึ้นแต่ถ้าเป็นสีแดงแสดงว่าตลาดเป็นขาลง ส่วนสีเทาจะหมายถึงตลาด Side Way แต่จุดที่น่าสนใจของหน้าต่าง Forex ในเว็บไซต์ Finviz ก็คือแถบแสดงข้อมูลการแข่งค่าและอ่อนค่าของเงินเมื่อเทียบกับ USD ในหน้านี้เราสามารถใช้ในการวิเคราะห์ทิศทางของราคาได้

หน้าต่างดังกล่าวจะแสดงคู่เงินหลัก ๆ โดยมี US Dollar อยู่ที่กึ่งกลาง ถ้าหากค่าเงินใดแข็งค่าจะขึ้นเป็นเปอร์เซ็นต์สีเขียว แต่ถ้าหากเงินไหนอ่อนค่าก็จะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์สีแดง

วิธีการวิเคราะห์ทิศทางของราคาและเลือกคู่เงินสำหรับเทรด

  1. ดูค่าเงินที่มีเปอร์เซ็นต์บวก/ลบ เยอะเมื่อเทียบกับดอลลาร์
  2. ถ้าหากค่าเงินมีเปอร์เซ็นต์บวกและอยู่ด้านซ้ายของดอลลาร์ให้ตีว่าเป็นขาขึ้น เหมาะกับการเล่นหน้า Buy
  3. ถ้าหากค่าเงินมีเปอร์เซ็นต์ที่ติดลบและอยู่ด้านขวาของดอลลาร์ให้ตีว่าเป็นขาลง เหมาะกับการเล่นหน้า Sell

ตัวอย่างเช่นในวันที่ 2 สิงหาคม 2566 จากภาพจะเห็นได้ว่า NZD มีเปอร์เซ็นต์ติดลบสีแดงและอยู่ด้านขวาของดอลลาร์ แสดงว่าถ้าเพื่อน ๆ เล่นคู่เงิน NZD/USD ก็ควรเก็งกำไรในทิศทางขาลง เป็นต้น

สุดท้ายนี้ก็อยากจะบอกว่าการดูการแข็งค่าและอ่อนค่าของเงินในเว็บไซต์นี้เป็นเพียงตัวช่วยหนึ่ง ในการคาดเดาทิศทางของตลาด Forex เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับแผนการเทรดหรือแผนการลงทุน และไม่อาจจะถูกต้อง 100% ได้ ดังนั้นเพื่อนๆ ก็ควรควบคุมความเสี่ยงให้ดีด้วยเช่นเดียวกัน

ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ เศรษฐกิจโลก 
เวปไซด์ mee-money.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

Stable Coin คืออะไร เหตุใดจึงสำคัญ

Stable Coin คืออะไร เหตุใดจึงสำคัญ

ในช่วงปลายปีอย่างนี้ตลาดคริปโตเคอเรนซี่หรือเงินดิจิตอลก็กลับมาเป็นกระแสดึงดูดนักลงทุนหน้าใหม่อีกครั้งหลังจากที่เคยเป็นที่นิยมและเป็นที่ถูกพูดถึงในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งสำหรับตลาดในประเทศไทยเมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานั้นทำให้ กระแสในคริปโตประเทศไทยบูมมากขึ้นอย่างมากเลยทีเดียว มีคนจำนวนมากมายที่ได้กำไรจากการที่ราคาเหรียญพุ่งขึ้นในช่วงเดือนที่ผ่านมา แต่ดูเหมือนว่าต้นเดือนธันวาคมนี้ จะกลายเป็นเรื่องที่เลวร้ายสำหรับนักลงทุนหน้าใหม่หรือคนที่เพิ่งเข้ามาในวงการเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

เมื่อช่วงสุดสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคมราคาของ Bitcoin ลดลงมาถึงราคาเกือบถึง 1,600,000 บาท ทำให้ราคาเหรียญอื่นๆ ลดลงตามมาและนักลงทุนหน้าใหม่ที่เข้าซื้อที่ราคาแพงสูญเสียเงินเป็นจำนวนมาก และด้วยกาแฟที่ได้รับความนิยมเมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายนทำให้มีคนหลายคนกู้เงินออกมาเล่นเพื่อหวังผลกำไรแต่แล้วก็ต้องสูญเสียเงินไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว ด้วยความผันผวนของตลาดทำให้เราจำเป็นที่จะต้องรู้จัก Stable Coin

ภาพจาก Pixabay

Stable Coin เป็นเงินดิจิตอลประเภทหนึ่งที่ราคาไม่มีความผันผวน เพราะว่าเป็นเหลี่ยมที่มีเงินดอลล่าค้ำอยู่ทำให้ราคาเหรียญจะเท่ากับเงินสกุลดอลลาร์ของสหรัฐนั้นเอง ซึ่งเป็นเหรียญที่เหมาะกับนักลงทุนหน้าใหม่เป็นอย่างมากเลยทีเดียวเพราะว่ามีความเสี่ยงต่ำเป็นอย่างมาก และตาม Exchange ต่าง ๆ ของต่างประเทศก็ใช้ Stable Coin ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินดิจิตอลสกุลอื่น ๆ ด้วย

ภาพจาก Pixabay

ด้วยความที่เป็นเหรียญที่ไม่มีความผันผวนทำให้เหมาะกับนักลงทุนหน้าใหม่ที่ไม่ชอบความเสี่ยงแต่อยากลงทุนในตลาดคริปโตเคอเรนซี่ ซึ่งกว่าจะได้กำไรไม่เยอะในช่วงที่ราคาขึ้นแต่อย่างน้อยก็ไม่ขาดทุนเยอะเช่นกันในช่วงที่ราคาตลาดเป็นขาลง นอกจากนี้ในช่วงที่เหรียญอื่น ๆ ในตลาดมีการปรับตัวลงอย่างรุนแรง Stable Coin

สามารถใช้ในประคองพอร์ตของเราไม่ให้ขาดทุนได้ดีมากเลยทีเดียว แถมให้ช่วงที่ราคาของเหรียญในตลาดเป็นขาลง นักลงทุนหลาย ๆ คนใช้ Stable Coin ในการพักเหรียญเพื่อรอเวลาที่ตลาดจะกลับเป็นขาขึ้นอีกครั้ง ทำให้มีโอกาสที่เรียก Stable Coin จะมีราคาพุ่งสูงขึ้นในช่วงเวลาที่ตลาดเป็นขาลง ตัวอย่างเช่นเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ในช่วงที่ Bitcoin มีราคาลดลง เหรียญ USDT ซึ่งเป็นเหรียญ Stable Coin มีราคาสูงขึ้นจาก 34 บาทเป็น 36 บาทเลยทีเดียว

ภาพจาก Pixabay

นอกจากมีเรื่องของการซื้อขายแลกเปลี่ยนเหรียญต่างๆ ในตลาดแล้ว Stable Coin ยังใช้เป็นเหรียญในการลดความเสี่ยงของแพลตฟอร์ม DeFi อีกด้วย เพราะเป็นเหรียญที่จะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่อง impermanent loss ได้ดีอย่างมากเลยทีเดียว สำหรับเหรียญ Stable Coin ที่นิยมใช้ในปัจจุบันนี้ก็คือ USDT, USDC, BUSD และ DAI

ข้อมูลจาก Cnet

ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ เศรษฐกิจโลก  
เวปไซด์ mee-money.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook 

ก.ล.ต ยังไม่ปล่อยผ่าน Spot Bitcoin ETF ง่าย ๆ

ก.ล.ต ยังไม่ปล่อยผ่าน Spot Bitcoin ETF ง่าย ๆ

เมื่อช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมากองทุนระดับโลกอย่าง Black Rock และ Fidelity และกองทุนอื่น ๆ มีการยื่นใบสมัครเพื่อทำการเปิด Spot Bitcoin ETF ให้กับหน่วยงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับชาวคริปโตอยู่ไม่น้อย แต่สุดท้ายก็ถูก ก.ล.ต ปฏิเสธกลับมาเนื่องจากยังมีข้อมูลที่ไม่มีความชัดเจนในเรื่องของแหล่งอ้างอิงราคา Bitcoin

หลังจากใบสมัครถูกปัดทิ้งในครั้งแรก Black Rock ก็ได้มีการยื่นใบสมัครใหม่อีกครั้งโดยคราวนี้ได้กำกับชื่อแหล่งอ้างอิงราคาไว้ด้วยว่าใช้ Coinbase ศูนย์ซื้อขายคริปโตเคอเรนซี่อันดับ 1 ของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นแหล่งอ้างอิงราคาของ Bitcoin

ข้อตกลงระหว่างบริษัทจัดการกองทุน Black Rock กับ ก.ล.ต ที่ส่งผลไปยัง Coinbase และ นักลงทุน

ภาพ Pexels/Karolina Grabowska

เมื่อบริษัทจัดการกองทุนที่ต้องการจะเปิด Spot Bitcoin ETF ใช้แหล่งอ้างอิงราคาจากศูนย์ซื้อขายอย่าง Coinbase ทุกอย่างก็ดูเหมือนจะไปได้อยู่ดี แต่มันก็มีประเด็นให้น่าติดตามอยู่ 2 ประเด็นด้วยกัน ซึ่งมันก็ถูกระบุไว้ในข้อตกลงเพื่อที่จะยอมให้

  1. Surveillance-sharing agreement – เมื่อ Coinbase มีการเซ็นว่าจะเป็นแหล่งอ้างอิงราคาให้กับบริษัทจัดการกองทุนข้างต้นจำเป็นที่จะต้องแชร์ข้อมูลต่างๆ ให้กับ ก.ล.ต เพื่อให้หน่วยงานที่กำกับดูแลสามารถเข้ามาตรวจสอบพฤติกรรมต่างๆ ภายใน Coinbase ทำให้ยักษ์ใหญ่ของอเมริการายนี้จะตกอยู่สายตาของ ก.ล.ต
  2. Information-sharing agreement – เป็นข้อตกลงที่ Black Rock จะยอมให้ ก.ล.ต เข้ามาตรวจสอบข้อมูลของลูกค้าที่ทำการซื้อ Spot Bitcoin ETF ไม่ว่าจะเปลี่ยนชื่อ ที่อยู่ เพื่อเกิดความปลอดภัยกับลูกค้า

ภาพ Pexels/Karolina Grabowska

การที่ Spot Bitcoin ETF จะสามารถผ่านได้นั้น 2 ประเด็นดังกล่าวจะต้องเคลียร์และชัดเจนก่อน แต่มันก็คงต้องใช้เวลาอยู่อีกไม่น้อยเลยทีเดียวโดยเฉพาะในด้านของ Coinbase ที่มีความขัดแย้งกับ ก.ล.ต มาก่อนหน้านี้จนถึงขั้นขึ้นศาลเลยทีเดียว

คดีความต่าง ๆ ก็ยังอยู่ในช่วงต้นของการพิจารณา ดังนั้นเราอาจจะไม่ได้เห็นความคืบหน้าของ Spot Bitcoin ETF ในประเทศสหรัฐอเมริกาเร็ว ๆ นี้แน่นอน ซึ่งแตกต่างจากทางฟากฝั่งยุโรปที่ได้มีการขยับเขยื้อนแล้วโดยจะมีการเปิดตัว Spot Bitcoin ETF ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมนี้ซึ่งเป็นการเปิดกองทุนจากบริษัท Jacobi Asset Management ที่ได้รับการดูแลโดย Fidelity ยุโรปได้นำไปก่อนแล้ว ต้องมาติดตามกันว่าทางฟากฝั่งอเมริกาจะเดินไปทางไหนต่อไป

ข้อมูลจาก efinancethai , Cointelegraph, Coindesk

ดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ เศรษฐกิจโลก  
เวปไซด์ mee-money.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook 

แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของลูกค้า FTX และ Celcius

แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของลูกค้า FTX และ Celcius

ในปี 2022 ที่ผ่านมาเป็นปีที่เลวร้ายสำหรับตลาดคริปโตเคอเรนซี่นอกจากตลาดหมีที่ทำให้ราคาของเหรียญลดลงแล้ว ยังทำให้เราได้เห็นการล่มสลายของศูนย์ซื้อขายรายใหญ่ของโลกไม่ว่าจะเป็น FTX หรือว่า Celcius ทำให้ลูกค้าที่ใช้บริการ 2 แพลตฟอร์มดังกล่าวนี้สูญเสียเงินไปไม่มากก็น้อย จนถึงตอนนี้คดีความยังอยู่ในชั้นศาลแต่ก็มีแนวโน้มที่ดีมากยิ่งขึ้น และทำให้ลูกค้าที่เป็นผู้เสียหายเริ่มเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ที่จะได้เงินคืนมากขึ้น

ภาพ cryptologos.cc

FTX สามารถกู้คืนทรัพย์สินมาได้กว่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากการประมาณมูลค่าของทรัพย์สินที่ถูก FTX ยักยอกไปอยู่ที่ประมาณ 8.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย 6.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินเฟียตและเหรียญคริปโตเคอเรนซี่ประเภท Stable Coin ซึ่งสาเหตุเกิดจากการที่ไม่ได้แยกเงินของลูกค้ากับเงินของบริษัทนั่นเอง โดย Sam Bankman-Fried อดีต CEO ได้นำเงินที่ยักยอกไปนี้ใช้ในเรื่องส่วนตัวไม่ว่าจะเป็นการบริจาคเพื่อการกุศลหรือนำไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ส่วนตัวอีกด้วย

แต่เมื่อขึ้นศาล FTX ก็ได้เปลี่ยนมือไปอยู่ในการดูแล John Ray III และเริ่มมีแนวโน้มที่ดีต่อนักลงทุนมากขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดเจ้าตัวก็ได้มีการประกาศออกมาแล้วว่าสามารถกู้คืนทรัพย์สินได้มูลค่ากว่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการกู้คืนเงินได้เกือบเต็มจำนวนที่ถูกยักยอกไปเลยทีเดียว ทำให้เรื่องนี้นั้นเป็นความหวังให้นักลงทุนที่เสียหายกับ Exchange นี้เริ่มมีความหวังที่จะได้เงินบางส่วนกลับคืนมา

ภาพ cryptologos.cc

Farenheit ชนะประมูลเข้าอุ้ม Celcius

Celcius เป็นที่ Exchange คริปโตเคอเรนซี่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อย่าง Staking เพราะว่าให้ผลตอบแทนสูง แต่เมื่อตลาดคริปโตเป็นขาลงกลายเป็นว่าบริษัทขาดสภาพคล่องทางการเงินจนถึงขั้นต้องยื่น Chapter 11 ซึ่งการประกาศล้มละลายเมื่อปีที่ผ่านมาก็สร้างความเสียหายให้กับนักลงทุนที่นำเงินไปฝากเพื่อกินดอกเบี้ยอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว หลังจากที่ได้มีการยื่นล้มละลายก็ได้มีการตั้งกลุ่มคณะกรรมการเจ้าหนี้ รวมถึงหาผู้เข้ามาประมูลเพื่อดูแลบริหารเงินก้อนที่ยังคงเหลืออยู่ในบริษัท Celcius

ท้ายที่สุดก็ได้เป็น Farenheit ชนะการประมูล และจะเข้ามาทำหน้าที่ดูแลบริหารทรัพย์สินคงเหลือ โดยจะมีการจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาและมีกลุ่มคณะกรรมการเจ้าหนี้ของ Celsius เป็นเจ้าของบริษัท โดยบริษัท Farenheit จะได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม

การที่คดีความของ 2 Exchange ยักษ์ใหญ่มีความคืบหน้าทำให้นักลงทุนที่เสียหายน่าจะเบาใจลงได้ไม่มากก็น้อยถึงแม้ว่าในอนาคตอาจจะไม่ได้เงินคืน 100% แต่ก็มีแนวโน้มที่จะได้เงินคืนบางส่วนเช่นเดียวกันโดยคนไทยอาจจะต้องตามข่าวของ Celcius เป็นหลักเนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับ Zipmex  ศูนย์ซื้อขายคริปโตเคอเรนซี่ในประเทศไทย

ข้อมูลจาก Siamblockchain , Bussinesswire

ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ เศรษฐกิจโลก 
เวปไซด์ mee-money.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

อนาคตของเงินดิจิตอลที่สดใส

อนาคตของเงินดิจิตอลที่สดใส

ในช่วงนี้ตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินดิจิตอลนั้นมีความคึกคักเป็นอย่างมากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เงินดิจิตอลหลายๆ เหรียญก็ทำราคาสูงสุดอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนเมษายนจนตอนนี้เหรียญที่ทุกคนจับตามอง Bitcoin ก็สามารถทำราคามากกว่า 2 ล้านบาทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนเหรียญอื่น ๆ ก็ทำกำไรให้กับนักลงทุนเป็นจำนวนมาก

Cr.Pngaaa

เว็บไซต์ Coinbase ที่เป็นกระดานแลกเปลี่ยนซื้อขายเงินดิจิตอลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐที่ถูกกฎหมาย ได้นำบริษัท Coinbase เข้าสู่เว็บไซต์ตลาดหุ้น nasdaq ของสหรัฐอเมริกาด้วยวิธี Direct listing แล้วปิดการซื้อขายวันแรกที่ราคา 328.28 $ สูงกว่าราคาเปิดตัวมากถึง 31.31 เปอร์เซ็นต์ เรียกได้ว่าหลังจากเปิดให้ซื้อขายที่ตลาดหุ้นก็กลายเป็นจุดสนใจของคนจำนวนมากในประเทศสหรัฐอเมริกาเลยทีเดียว เรียกว่าตอนนี้ตลาดซื้อขายเงินดิจิตอลในสหรัฐนั้นกำลังเป็นกระแสอย่างมากเลย

Cr.Wikimedia

พอได้ยินข่าวเช่นนี้แล้วเมื่อหันมามองในประเทศไทยบริษัทที่เป็นเว็บไซต์ซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินดิจิตอลที่ใหญ่ที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้น Bitkub ที่ปัจจุบันนี้ก็กลับมาเปิดรับลูกค้าเพิ่มและก็เป็นจุดสนใจของคนจำนวนมากเช่นเดียวกัน โดยล่าสุดคุณท็อป จิรายุส CEO ของบริษัท Bitkub ก็ได้ออกมาขอความคิดเห็นของสมาชิกผู้ติดตามผ่าน Facebook Fanpage เรื่องการ IPO หุ้น ของบริษัท Bitkub เช่นเดียวกับบริษัท Coinbase ของประเทศสหรัฐอเมริกา กับ การสร้างเหรียญดิจิตอล Bitkub เป็นของตัวเอง ซึ่งหลังจากมีการโพสต์เรื่องนี้ออกไปก็สร้างความสนใจให้กับผู้ติดตามของแฟนเพจเป็นอย่างมากหลาย ๆ คนก็ต้องการการ IPO หุ้น อีกหลายคนก็ต้องการเหรียญดิจิตอล Bitkub และก็ยังมีอีกหลายคนที่เห็นด้วยกับทั้งสองอย่าง ทางนี้ก็ต้องมาดูว่าทางบริษัทจะตัดสินใจเช่นไร แต่ว่าผู้ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ก่อนก็จะเป็นผู้ใช้บริการของเว็บเทรด Bitkub

ดูโพสต์จริงได้ที่Facebook Top Jirayut

ตอนนี้ทางบริษัท Bitkub ก็สร้างผลกำไรได้สูงมากและถ้าในปีนี้สามารถทำกำไรได้มากกว่า 1000 เปอร์เซ็นต์ก็อาจจะได้กลายเป็นยูนิคอร์นตัวแรกของประเทศไทย

จากในอดีตคนมองว่าเงินดิจิตอลเป็นเพียงแค่ทรัพย์สินที่ใช้เก็งกำไร หรือหลายคนมองว่าเป็นทรัพย์สินที่ยังไม่มีความแน่นอนเนื่องจากยังไม่มีทรัพย์สินอื่น ๆ มารองรับ และเป็นทรัพย์สินที่มีความผันผวนสูงจึงมีความเสี่ยงที่จะลงทุน แต่จากการที่บริษัท Coinbase สามารถเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาได้นั้น ก็คงจะเป็นตัวยืนยันได้ว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ยอมรับในเงินดิจิตอล และสร้างความมั่นใจให้กับใครหลาย ๆ คนได้อีกด้วย ในอนาคตวงการเงินดิจิตอลก็คงจะสดใสอย่างแน่นอน

ข้อมูลจาก Blognone, Siamblockchain, Cnn

ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ เศรษฐกิจโลก 
เวปไซด์ mee-money.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

Regulatory Risk ความเสี่ยงที่นักลงทุนคริปโตต้องระวัง

Regulatory Risk ความเสี่ยงที่นักลงทุนคริปโตต้องระวัง

สำหรับคนที่ลงทุนในคริปโตเคอเรนซี่ ก็คงจะรู้ดีอยู่แล้วว่าตลาดนี้มีความเสี่ยงในการลงทุนมากเพียงไหน ไม่ว่าจะเป็นราคาที่ผันผวน การเลือกสินทรัพย์ที่จะลงทุน โปรเจคฉ้อโกง รวมไปถึงความมั่นคงของ Exchange และความนิยมที่มาไวไปไว สำหรับใครที่อยู่ในตลาดคริปโตตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมาคงจะได้ผ่านประสบการณ์เหล่านี้มาด้วยกัน แต่นั่นก็ไม่ใช่ความเสี่ยงทั้งหมดที่ตลาดคริปโตจะได้รับ ในปีนี้นักลงทุนในสินทรัพย์ดิจิตอลจะต้องเตรียมรับมือกับความเสี่ยงที่มีชื่อว่า “Regulatory Risk

ภาพ Pexels/Alesia Kozik

Regulatory Risk เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการกำกับดูแลของหน่วยงานรัฐบาล เมื่อหน่วยงานรัฐบาลที่ต้องคอยกำกับดูแลตลาดการลงทุน เห็นว่าตลาดคริปโตเคอเรนซี่นั้นมีอิสระมากเกินไป กฎเกณฑ์ข้อบังคับยังไม่ครอบคลุม และยังมีการทำผิดกฎหมายอยู่ ทำให้มีความเสี่ยงต่อนักลงทุน จึงจำเป็นที่จะต้องเข้ามาดูแลเพื่อความปลอดภัยของนักลงทุน เราเห็นเรื่องนี้ได้ชัดจาก ก.ล.ต ของประเทศสหรัฐอเมริกา

ก.ล.ต สหรัฐที่นำโดย Gary Gensler มักจะพูดถึงการลงทะเบียนหลักทรัพย์ขอคริปโตอยู่เสมอโดยเจ้าตัวนั้นอ้างว่าเหรียญหลายเหรียญในตลาดคริปโตเป็นหลักทรัพย์ตัวอย่างเช่น XRP, ADA, SOL, MATIC , SAND, AXS และ NEAR และกำลังทำผิดกฎเนื่องจากไม่มีการมาลงทะเบียนกับก.ล.ต แต่ทางฟากฝั่งของผู้พัฒนาเหรียญก็ได้ออกมาพูดเช่นกันว่าเหรียญที่เขาพัฒนาขึ้นมาเป็นสินค้าไม่จำเป็นที่จะต้องไปลงทะเบียน ทำให้เป็นคดีขึ้นมากลายเป็น Regulatory Risk ที่นักลงทุนไม่อาจเลี่ยงได้ โดยคดีที่กำลังฟ้องร้องอยู่และต้องจับตามองก็คือคดีของ XRP

ภาพ Pixabay/vjkombajn

XRP เป็นเหรียญที่ถูกฟ้องร้องเมื่อปี 2020 ตอนนี้ก็อยู่ในช่วงการพิจารณาคดีก่อนจะตัดสินว่าแท้จริงแล้ว XRP เป็น Commodity (สินค้า) หรือ Security (หลักทรัพย์) และผลของคำตัดสินที่ออกมานั้นจะส่งผลไปเหรียญต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติหรือราคา ทำให้กลายเป็น Regulatory Risk ที่นักลงทุนต้องระวังให้ดีง ดังนั้นนักลงทุนที่ลงทุนในตลาดคริปโตจะต้องคอยจับตาดูข่าวการตัดสินของ XRP ให้ดีเพราะมันจะส่งผลต่อเหรียญอื่น ๆ ในตลาดอย่างแน่นอน ทำให้มันกลายเป็น และอาจจะเป็นการตัดสินด้วยว่าสุดท้ายแล้วตลาดคริปโตเคอเรนซี่อยู่ในการกำกับดูแลของหน่วยงานใดระหว่าง CFTC กับ SEC ในช่วงที่ยังไม่มีความชัดเจนนักลงทุนก็ต้องปรับความเสี่ยงและปรับพอร์ตการลงทุนให้ดีเพื่อรองรับกับผลที่จะเกิดขึ้น

ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ เศรษฐกิจโลก 
เวปไซด์ mee-money.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

ประเทศสหรัฐเตรียมออกกฎเกณฑ์ดูแลเงินดิจิตอล

ประเทศสหรัฐเตรียมออกกฎเกณฑ์ดูแลเงินดิจิตอล

ขณะที่เงินดิจิตอลหรือคริปโตเคอเรนซี่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นรัฐบาลหลายๆ ประเทศก็กำลังหาทางออกเกี่ยวกับกฎหมายเพื่อจะใช้ในการควบคุมและกำกับดูแลเงินดิจิตอลแต่ดูเหมือนว่าตอนนี้ในหลายประเทศยังไม่เป็นรูปเป็นร่างมากเท่าไหร่ ถึงแม้ว่าจะมีการพูดถึงบ้างในหลาย ๆ ประเทศแต่ก็ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง

ภาพจาก Pixabay

ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ผู้คนจำนวนมากรวมไปถึงมหาเศรษฐีหลายรายสนใจในคริปโตเคอเรนซี่ บางรัฐก็มีการสนับสนุนอย่างเป็นจริงเป็นจังเลยทีเดียว แต่ว่าตอนนี้ในประเทศอเมริกาก็ยังไม่มีกฎหมายออกมาเพื่อควบคุมดูแลเช่นกัน สำนักงานบัญชีกลางสกุลเงิน (Office of the Comptroller of the Currency) และหน่วยงานที่ให้การประกันเงินฝากให้ผู้ฝากเงินในสถาบันรับฝากเงินของสหรัฐ ( Federal Deposit Insurance Corporation ) ก็กำลังวางแผนที่จะวางกฎเกณฑ์และกฎระเบียบของเงินคริปโตเคอเรนซี่ให้ชัดเจนในช่วงปี 2022 นี้หลังจากที่ได้มีการวางแผนและหาวิธีการต่าง ๆ มาตั้งแต่ในช่วงปี 2020 จนถึงปี 2021 ที่ผ่านมา

ซึ่งกฎระเบียบและกฎเกณฑ์ดังกล่าวนั้นจะเน้นไปในเรื่องของการธนาคารเสียมากกว่าประชาชนที่มีการถือครองคริปโต โดยกฎเกณฑ์ดังกล่าวจะเป็นตัวชี้แนวว่าธนาคารสามารถทำอะไรได้บ้างเมื่อต้องการถือครองคริปโตเคอเรนซี่ การอนุญาตให้คนภายในประเทศรับเงินดิจิตอล การใช้งาน Stablecoin และการกู้เงินคริปโตเคอเรนซี่รวมไปถึงการบันทึกค่าเงินบัญชีด้วย วัตถุประสงค์ของการออกกฎหมายดังกล่าวก็คือเพื่อปกป้องนักลงทุน แล้วเพื่อให้ธนาคารสามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม ก่อนหน้านี้ทางสำนักงานบัญชีกลางสกุลเงินประเทศสหรัฐได้อนุญาตให้ธนาคารสามารถถือครองคริปโตสำหรับลูกค้าได้ ใช้งาน Stablecoin ได้ แต่ต้องกระทำด้วยความปลอดภัยและความรับผิดชอบ

ภาพจาก Pixabay

สิ่งที่น่าติดตามเลยก็คือตัวบทกฎหมายนั้นจะออกมาเป็นเช่นไรในช่วงปีหน้า เพราะว่ากฎหมายดังกล่าวอาจจะเป็นแม่แบบให้หลาย ๆ ประเทศที่ยังไม่ได้มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับเงินดิจิตอลนำไปทำตามภายในประเทศนั่นเอง

ภาพจาก Pixabay

เมื่อหันกลับมามองกฎหมายเกี่ยวกับคริปโตเคอเรนซี่ในประเทศไทยในตอนนี้แม้กระทั่งกฎหมายการจัดเก็บภาษีที่ดูเหมือนจะชัดเจนแต่ก็ยังไม่สามารถใช้งานได้จริง โดยจากข่าวคราวที่ผ่านมาได้มีข่าวว่าในการเก็บภาษีคริปโตนั้นจะต้องหักจากกำไร 15% แล้วยังต้องมีการชำระในช่วงปลายปีอีกด้วย ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาแล้วก็ยังไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากไม่รู้ว่าทุก ๆ คนที่ทำการแลกเปลี่ยนซื้อขายในตลาดจะมีการได้กำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวนเท่าใด ถ้าหากจะตั้งเป็นโปรแกรมให้อยู่ภายในตลาดซื้อขายของแต่ละแพลตฟอร์มก็เป็นเรื่องยากเพราะว่าถ้าเกิดขาดทุนแล้วมีการหักภาษีก็จะเป็นผลเสียต่อนักลงทุนนั่นเองอย่างไรกฎหมายดังกล่าวในประเทศไทยก็คงต้องติดตามดูกันต่อไป

ข้อมูลจาก The Verge

ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ เวปไซด์ mee-money.com

และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook 

เก็บเงินล้านแรกด้วยการลงทุน

เก็บเงินล้านแรกด้วยการลงทุน

   การจะเก็บเงินล้านแรกไม่ใช่เรื่องง่าย คนที่มีความมุ่งมั่นและความอดทนต่อเป้าหมายที่ชัดเจนและลงมือทำตามเป้าหมายเท่านั้น ถึงจะสามารถประสบความสำเร็จด้านการเงินได้ วันนี้เรามีเคล็ดลับในการเก็บเงินล้านแรกมาฝากกันไปดูกันเลย

Cr.pic; https://www.set.or.th/

1.เปลี่ยนmind set หรือวิธีคิด เป็นออมก่อน จ่ายทีหลัง เราต้องมีเงินเหลือเก็บทุกเดือน โดยเราจะตัดเงินออมผ่านบัญชีธนาคารเป็นประจำ สะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กอช เป็นกองทุนการออมเงิน เพื่อผู้ที่ทำอาชีพอิสระ หรือ ฟรีแลนซ์ นักธุรกิจ ผู้ที่มีสิทธิ์ออม อายุ 15-60 ปีขึ้นไป ส่งเงินสะสม ผ่านแอพลิเคชั่นของกอช.หรือ ธ.ออมสิน ธ.ก.ส. ธ.กรุงไทย ไม่จำเป็นต้องส่งเงินออมทุกเดือน

ไม่จำเป็นต้องส่งเงินจำนวนเท่าๆกัน แถมรัฐบาลยังมีจ่ายเงินสมทบให้ ตามช่วงอายุ ถ้าอายุ 15-30 ปีจะเพิ่มเงินสมทบให้คุณไม่เกิน 600 บ./ปี  ถ้าอายุมากกว่า 30-50 ปี จะจ่ายเงินสมทบ 960 บ./ปี อายุ 50 ปีขึ้นไป ไม่เกิน 1200 บ./ปี มีสิทธิ์ได้รับเงินสมทบ เมื่ออายุครบ 60 ปี และเสียชีวิต ถ้าลาออกจากกองทุนก่อนครบกำหนดอายุ จะไม่ได้รับเงินสมทบ /ประกันสังคม / กบข. เป็นกองทุนออมเงินสำหรับราชการ มีแผนให้เลือกลงทุนหลากหลาย เพื่อชีวิตยามเกษียณของเรา และลดความเสี่ยงด้วยการออมเงินผ่านประกันชีวิต

Cr.pic; https://www.set.or.th/

2.ลงทุนเพิ่มมูลค่า ให้ตัวเอง อย่าหยุดที่จะพัฒนาความสามารถของตนเอง เราต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองในทุกๆวัน เก่งขึ้นวันละ 1% อย่างสม่ำเสมอ เพราะการเรียนรู้ จะช่วยสร้างประสบการณ์ การที่เรามีประสบการณ์สูงนั้น ได้เปรียบกว่าคนที่ได้เกียรตินิยมเสียอีก อย่างน้อยก็เป็นบทเรียนชีวิตให้พัฒนาตัวเองต่อไป

Cr.pic; https://www.set.or.th/

3.อย่าเผลอใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ใช้เงินอย่างมีสติ หากต้องการประสบความสำเร็จทางด้านการเงิน ต้องรู้จักยับยั้งชั่งใจไว้บ้าง อย่าหลงไปกับสิ่งฉาบฉวย ชั่วครั้งชั่วคราว เพราะความสุขความสำเร็จที่แท้จริงในชีวิตต้องดูกันยาวๆ  เพราะฉะนั้นการออมก่อนใช้ เป็นกฎเหล็กที่คนอยากมีเงินเก็บต้องทำ และต้องรู้จักประมาณตนอยู่อย่างพอเพียง และต้องรู้จักนำเงินออมมาบริหารจัดการ สร้างผลตอบแทน

Cr.pic; https://www.set.or.th/

4. การลงทุนที่ดี   การบริหารชีวิตได้แบบองค์รวม การลงทุนที่ดี เราจะต้องมีความสุขในการใช้ชีวิตด้วย ทั้งสุขภาพกายและใจ ความสัมพันธ์ในครอบครัวและคนรอบข้าง รวมถึงมีเวลาทำงานอดิเรก ได้ทำงานที่ตนเองรักด้วย บางครั้งผลตอบแทนที่คุ้มค่าอาจไม่ได้มาในรูปแบบของเงินเสมอไป แต่ความสุขและความทรงจำดีๆ ก็นับเป็นกำไรของชีวิตที่มีค่ามหาศาลแล้ว

  เป้าหมายทางด้านการเงิน เป็นเป้าหมายที่หลายๆคน ตั้งไว้ช่วงปีใหม่ เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว อย่าลืมลงมือทำ และใส่ใจคนรอบข้างด้วยนะคะ เหมือนที่บางคนเคยบอกว่า อย่าลืมชมดอกไม้ข้างทาง เราอาจจะไปถึงเป้าหมายช้าหน่อย แต่ระหว่างทางเดินของเรานั้นเรามีความสุขกับมัน เพราะบางครั้ง เราอาจจะไปถึงเป้าหมายแล้ว จะกลับมาดูดอกไม้ข้างทางก็สายเกินไปซะแล้ว

ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ เศรษฐกิจโลก 
เวปไซด์ mee-money.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

ภาษี และดอกเบี้ย เรื่องที่ทุกคนต้องรู้

ภาษี และดอกเบี้ย เรื่องที่ทุกคนต้องรู้

 ดิฉันเชื่อว่าทุกคนคงเคยได้ยินเรื่องภาษีมาแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย เชื่อว่าหลายคนไม่รู้ว่าภาษีนั้นอยู่ในชีวิตประจำวันของทุกคน แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร หรือไม่มีการนำเรื่องภาษีมาศึกษาและให้ความรู้ในสถาบันการศึกษา

ภาษีส่วนใหญ่ที่เราทุกคนเสียหลักๆก็จะมี  

Cr.pic:https://www.posttoday.com/

  • ภาษีบุคคลธรรมดา คนไทยทุกคนที่มีรายได้ตั้งแต่ 30000 บาทขึ้นไปจะต้องยื่นแสดงรายได้และจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับกรมสรรพากร
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเกิดขึ้นในทุกการบริโภคของเรา  มาจากที่เราซื้อสินค้าและบริการนั้น โดยที่ผู้ประกอบการนั้นจะเรียกเก็บจากผู้บริโภคซื้อสินค้าและบริการที่บวกลงไปในราคาของผลิตภัณฑ์ และจะนำภาษีนั้นส่งให้กับกรมสรรพากร ยกตัวอย่างง่ายๆคือ การเดินไปซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อ ซื้อของสักชิ้นจะมีใบเสร็จแบบย่อ  ซึ่งในใบเสร็จนั้นจะมีการระบุ เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ไทยเสียคือ VAT 7% ภาษีที่ได้จะนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยในด้านต่างๆ

ดอกเบี้ย

 คือ เงินตอบแทนที่ได้เพิ่มขึ้นจากการออมหรือลงทุน เช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือการปล่อยเงินกู้

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ มักอยู่ในลักษณะร้อยละต่อเดือน หรือต่อปี เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งผู้ให้กู้ เช่น ธนาคาร หรือบริษัทเรียบเก็บจากผู้กู้เพื่อเป็นผลตอบแทนจากการให้กู้

Cr.pic:https://www.posttoday.com/

  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ทางผู้ให้กู้กำหนดไว้ตายตัวและจะไม่มีการปรับอีกตลอดอายุการทำสัญญาหรือช่วงเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 5 ต่อปีมีระยะเวลาในการผ่อนชำระคืน 7 ปี
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัวที่เปลี่ยนแปลงไปตามต้นทุนของสถาบันการเงิน ซึ่งสถาบันการเงินประกาศออกมาเป็นคราว ๆ ไป เช่น อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ

 ที่เราเห็นกันบ่อยๆ ก็คือ MLR, MOR, MRRและMHR ซึ่งแยกได้ดังนี้

  • MLR (Minimum Loan Rate)

คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ซึ่งวัดได้จาก อาชีพ ฐานเงินเดือน รายรับ ประวัติการเคลื่อนไหวบัญชี และต้องมีประวัติการเงินที่ดี

  • MOR (Minimum Overdraft Rate)

 คืออัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ซึ่งผู้กู้มาขอกู้เพื่อขยายกิจการ ผู้ให้กู้จะวัดจากประวัติการชำระหนี้ดี มีความสามารถในการชำระหนี้สูง

  • MRR (Minimum Retail Rate)

Cr.pic: https://money.kapook.com/

คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี ธนาคารจะปล่อยกู้ให้กับคนทั่วไปที่มีประวัติการชำระเงินดี แต่มีความเสี่ยงในการชำระเงินอยู่บ้าง เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล, สินเชื่อบัตรเครดิต, สินเชื่ออยู่อาศัย

  ยุคที่เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19  ระบาดไปทั่วโลก รัฐบาลได้มีการนำเอาภาษีมาใช้ในการจัดสรรงบต่างๆเพื่อบรรเทาความทุกข์ยากจากการระบาดของโควิด 19 และจากผลสำรวจหนี้สินครัวเรื่อน ปรากฎว่าหนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ธนาคารพานิชย์ต่างๆได้นำสินเชื่อต่างๆมาปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันไป ทุกคนควรให้ความสำคัญกับเรื่องดอกเบี้ยและภาษี และไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง

ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ เศรษฐกิจโลก 
เวปไซด์ mee-money.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook