การแต่งงานแม้จะเป็นเรื่องของคนสองคน แต่ใครจะรู้ว่าการแต่งงานในแต่ละครั้งนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ไม่ใช่แค่หาสินสอดเพื่อไปสู่ขอเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยขึ้นอยู่กับศาสนาที่นับถือของคู่บ่าวสาว เพราะจะมีผลในเรื่องค่าใช้จ่ายในการแต่งงานแต่ละครั้ง เรียกง่ายๆ เลยก็คือ จะแต่งทั้งทีก็เหมือนลงทุน เพราะมันมีค่าใช้จ่ายมากมายที่จะเข้าสู่การแต่งงาน บางคนไม่คาดฝันว่ามันจะจริงถ้าหากมันเกี่ยวข้องกับเรื่องเงิน ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมมันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมีแผนที่จะประหยัดสำหรับพวกเขา

ค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพทางการเงินของคุณเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาชีพ รายได้ขั้นต่ำต่อเดือน หรือมีหนี้สินด้วยหรือไม่ กว่าจะเป็นพิธีให้ใครได้มาแสดงความยินดี คุณจะต้องเลือกสถานที่, ผู้จัดงานเลี้ยง, ร้านดอกไม้, บางทีอาจจะมีวงดนตรีหรือดีเจ, เสื้อผ้าสำหรับพิธีแต่งงานไม่ต้องพูดถึงเลย พิธีแต่งงานไปในทางไหน จะต้องดูเรื่องค่าใช้จ่ายของแต่ละพิธีนั้น ไม่ว่าจะเป็นพิธีพุทธ คริสต์ อิสลาม จีน ชินโต หรือการแต่งงานแบบอื่นๆ
จึงหันกลับมาทบทวนการเงินสำหรับปีต่อๆ ไปของใครหลายคน หรือคนที่มีแพลนจะแต่งแต่ยังไม่ได้เริ่ม เพื่อที่จะจัดงานแต่งของตนเองให้คุ้มค่าคุ้มราคาที่สุด โดยจะแนะนำได้ดังนี้

- ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของงานแต่งงานจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่คุณอาศัยอยู่และประเภทของงานแต่งงานที่คุณวางแผนไว้ ต้องวางแผนเรื่องงบก่อนว่ามีทุนหนึ่งแสนบาท จะแต่งงานแบบไหนให้คุ้มค่าที่สุด หรือใครที่ยังไม่มี จะออมเงินยังไงเพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องกู้ ใช้เวลามากน้อยแค่ไหนในการเก็บเงินเพื่อแต่งงานหรือสู่ขอคู่แต่งงานของเรา
- ควรทำเป็นบัญชีรายรับอย่างเดียว เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องถอนออกมาก่อนกำหนด เนื่องด้วยคู่รักส่วนใหญ่มีงบประมาณน้อยเกินไป สำหรับการจัดงานแต่งงานและใช้จ่ายมากกว่าที่พวกเขาวางแผนไว้ จึงอาจจะต้องศึกษาด้านการลงทุนช่วยด้วย เช่น ตราสารหนี้ ซึ่งจะได้ผลตอบแทนประมาณ 3-4% แต่อย่างไรเสียการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงเสมอ
- การเลือกซื้อสินค้าแบบเปรียบเทียบ เป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการประหยัดค่าจัดงานแต่งงาน หรือถ้าทำแบบ DIY หรือตกแต่งเอง จะช่วยลดต้นทุนการจัดจ้างได้ดี
- ค่าใช้จ่ายในการจัดงานแต่งงานควรมีสภาพคล่องและสามารถจ่ายค่าจัดงานแต่งงานได้ง่ายเมื่อเกิดขึ้น

การแต่งงานทั้งทีไม่ได้วัดกันที่ความรักเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมีการเตรียมตัวมากในระดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเรื่องของประกันชีวิต ประกันออมทรัพย์ของตนเองและคู่สมรส การบริหารจัดการเรื่องเงิน เพราะการบริหารเงินออมมักคู่กับการบริหารความสัมพันธ์เสมอ อย่าลืมว่ามันหมดยุคหมดสมัยของการกัดก้อนเกลือแล้ว คิดจะแต่งงานอย่าสักแต่ว่าให้ใครอดทนฝ่ายเดียว หรือพิสูจน์รักแท้โดยไม่มีความพร้อมเรื่องเงินนะจ๊ะ ขอบอก
ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ GUรู็ การเงิน
เวปไซด์ mee-money.com