เทคนิคการเจรจาหนี้ช่วงโควิด

โควิด

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้หลายคนต้องตกงาน

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้หลายคนต้องตกงาน ร้านอาหารถูกปิด ไม่สามารถท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศได้ บางคนต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาตัว ทำให้หลายคนลำบาก มีหนี้สินค้างชำระ เงินไม่พอใช้ไม่พอเก็บ ธุรกิจไปต่อไม่ไหว ต้องปิดตัวลงเพราะขาดสภาพคล่องและขาดทุน ลูกค้าไม่มีกำลังซื้อเพียงพอ  มาตราการล็อคดาวน์ที่ต้องอยู่ที่บ้าน รักษาระยะห่าง ทำให้ะวกเราต้องขาดรายได้ไปตามๆกัน เศรษฐกิจซบเซามาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว และช่วงนี้มีฝนตกหนัก ก่อให้เกิดน้ำท่วมขังที่สมุทรปราการ ยิ่งทำให้เราเดือดร้อนเข้าไปใหญ่ หลายคนจึงตัดสินใจหาเงินด่วน เงินนอกระบบและในระบบ สุดท้ายแล้วค้างชำระหนี้ ผ่อนดอกเบี้ยรายเดือนไม่ไหว ทางออกที่ดีที่สุดไม่ใช่การหนีหนี้ การฆ่าตัวตาย แต่เป็นการเจรจากับเจ้าหนี้ต่างหาก เพราะเจ้าหนี้คงเข้าใจเรา ในสถานการณ์แบบนี้

1.เจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ เนื่องจากผ่อนในจำนวนเงินเท่านี้ไม่ไหว ขอลดจำนวนเงินที่ผ่อนลงสักหน่อย หรืออาจจะขอลดดอกเบี้ยสักเล็กน้อย เมื่อผ่านช่วงวิกฤตนี้ไปแล้วจะขอผ่อนในจำนวนเงินเท่าเดิม บอกเจ้าหนี้ประมาณนี้ค่ะ แต่สำหรับคนมีสภาพคล่อง ขอร้องให้ลดยอดหนี้ ขอปิดยอดหนี้ให้ไวขึ้นหลังจากกู้เงินมา 1 เดือน   หากไม่มีเงินสดที่จะผ่อนชำระหนี้แล้ว ให้เจรจาขอผ่อนชำระเป็นรายเดือนโดยขอผ่อนยอดขั้นต่ำที่น้อยที่สุด และขอผ่อนนานที่สุดที่เจ้าหนี้จะให้เราได้ ประมาณครึ่งปี ถึงสามปี หรืออาจขอเจรจาใช้ทรัพย์สินตีราคา หรือทำการรีไฟแนนซ์เพื่อชำระหนี้

2.กรณีที่ไม่มีเงินก้อนไปปิดยอดหนี้ แต่พอมีเงินเก็บเพียงบางส่วนและชำระหนี้ไวกว่ากำหนด ให้เจรจา ขอชำระหนี้เพียงบางส่วนเพื่อลดทั้งต้นและดอกเบี้ย ส่วนหนี้ที่เหลือขอผ่อนชำระเป็นรายเดือน. โดยวิธีนี้จะสามารถลดดอกเบี้ยได้บ้าง หรืออาจจะตัดดอกเบี้ยได้ทั้งหมดเลยยิ่งดี ก็ขึ้นอยู่กับทุนทรัพย์ของคุณว่าพร้อมไหม ไหวไหมที่จะชำระหนี้ แต่ไม่ใช่เอาเงินมาชำระหนี้จนหมด  จนตัวเองไม่มีเงินไว้ใช้จ่าย ไม่มีเงินสำรองฉุกเฉิน  หรือ เงินเก็บเพื่ออนาคตเลยนะคะ เพราะถ้าเราเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉินขึ้นมา จะลำบากเอานะคะ ความแน่นอน คือความไม่แน่นอนค่ะ

3. กรณีที่เจ้าหนี้เขี้ยวมาก ไม่ใจดีลดดอกเบี้ยให้เลย หรือชำระหนี้ต่อเดือนให้น้อยลง ก็ให้เราทำการรีไฟแนนซ์ เอาเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยถูกกว่า มาโปะหนี้นอกระบบ หรือหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงกว่า แล้วค่อยถยอยชำระหนี้ที่มีดอกเบี้ยที่น้อยกว่าในภายหลัง เพราะเงินที่เราได้มาจากรีไฟแนนซ์ เช่น รีไฟแนนซ์จากรถ หรือ บ้าน(บ้านที่ผ่อนหมดแล้ว และหมดภาระแล้ว) เป็นเงินกู้ในระบบที่เราสามารถต่อรองกับธนาคารได้ เมื่อเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจแบบนี้ ทำให้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาตราการช่วยเหลือลูกหนี้ ให้ผ่อนปรนการชำระหนี้ซึ่งเป็นผลดีทำให้เราชำระหนี้ไหว ดีกว่าไปกู้หนี้นอกระบบ  

4.กรณีที่มีหนี้จำนวนมาก มีหลายเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบมาทวงถาม ก็ขอให้เราตั้งสติก่อน แล้วนำเงินกู้นอกระบบ มาไว้ในระบบให้ได้ โดยรวมหนี้ทั้งหมดเป็นก้อนใหญ่ แล้วขอกู้เงินจากธนาคาร เพื่อปิดหนี้ก้อนนี้ แล้วค่อยมาผ่อนชำระหนี้กับธนาคาร แต่ข้อเสีย คือ คนที่เครดิตดี ไม่ติดเครดิตบูโรจะได้รับการพิจารณากู้เงินได้ไวกว่า หากใครที่ติดเครดิตบูโร สามารถไปขอความช่วยเหลือได้ที่คลินิกแก้หนี้ เพียงกดค้นหาว่า คลินิกแก้หนี้ ก็เจอแล้ว

5. หากมีรายได้เท่าเดิมหรือลดลง ไม่เพิ่มขึ้นเลย แต่มีรายจ่ายมากขึ้น. เราอาจจะขอพักชำระหนี้กับทางธนาคาร ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย เราอาจจะเจรจาขอชำระหนี้ดอกเบี้ยไปก่อน ส่วนต้นเงิน ขอพักไว้ก่อน  ซึ่งตามกฎหมายนั้น เจ้าหนี้สามารถคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินที่เหลือได้เท่านั้น 

วิธีการเจรจาต่อรองขอผ่อนผันการชำระหนี้เป็นไอเดียที่สามารถช่วยใครบางคนที่กำลังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ใช่ไหมคะ เมื่อเจอปัญหา ก็ขอให้ตั้งสติ และหาวิธีแก้ไขปัญหาที่มันถูกต้องนะคะ เพราะไม่งั้นจากการแก้หนี้เพียงไม่กี่หมื่น อาจจะทำให้เรามีหนี้เพิ่มขึ้นเป็นหลักล้าน และคงไม่มีเจ้าหนี้คยไหนที่อยากเห็นลูกหนี้ติดคุก หรือจากเราไปหรอกนะคะ เพียงแต่เจ้าหนี้ก็อยากได้เงินของเขาคืนเท่านั้นเองค่ะ การเจรจาต่อรองหนี้ เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เจ้าหนี้เริ่มไว้วางใจเรา ว่าเราจะไม่หนี หากเราไม่โต้ตอบอะไรเลย แสดงว่าเรานั้นเพิกเฉย และไม่มีความรับผิดชอบในการผ่อนชำระหนี้นะคะ

ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ GUรู็ การเงิน 
เวปไซด์ mee-money.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

ระวังเป็นหนี้ เพราะผ่อน 0%

หนี้

คิดให้ดี ระวังเป็นหนี้ เพราะผ่อน 0%

เมื่อใดก็ตามที่คุณเห็นโฆษณาที่เป็นโปรโมชั่นยอดฮิต ผ่อน 0 % อาทิ ผ่อนจ่ายนาน 10 เดือน ดอกเบี้ย 0 %  ที่มันทำให้คุณจ่ายได้ง่ายขึ้น  เราจะมาวิเคราะห์ ข้อดีและข้อเสียของมันว่ามันเป็นอย่างไรกันแน่

ก่อนอื่นเรามาเริ่มกันที่เรื่องนี้ก่อน ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาแถลง เมื่อปี 2019 ว่า อาจจะทีการยกเลิกการผ่อน 0 %  เพราะคนใช้กันเยอะมากจนเป็นหนี้ท่วม แต่ขณะนั้นยังไม่มีหารบังคับใช้ ซึ่งถ้ามาดูหนี้ครัวเรือนของประเทศเรา ในปี 2019 สูงถึง 87.7 % เมื่อเทียบกับ GDP ซึ่งสูงเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย และในอันดับโลกเราก็เป็นอันดับที่ 11 ของโลก เราเป็นผู้นำทางด้านหนี้สินเลยทีเดียว

หลายคนสงสัยว่าหนี้ครัวเรือนคืออะไร มันก็คือหนี้ที่คนไปเอาจากธนาคารมาเพื่อจับจ่ายใช้สอย ไปซื้อบ้าน ซื้อของใช้ รวมไปถึงการทำธุรกิจ ทั้งหมดรวมเรียกว่าหนี้ครัวเรือน และนี่คือที่ธนาคารต่างๆและธนาคารแห่งประเทศไทยเก็บข้อมูลได้เท่านั้น  แปลว่ามันไม่ได้รวมหนีนอกระบบ นั่นคือหนี้ของประเทศไทยมันเยอะกว่านี้

คราวนี้เรามาพูดถึง หนี้ 0 % กันบ้าง ซึ่งจะเห็นโปรโมชั่น 0 % เยอะมากในการจับจ่ายใช้สอยรอบตัว ตั้งแต่ซื้อมือถือผ่อน 0 % ไปถึงการคลอดลูกยังมีผ่อน 0 % 10 เดือนเลย

มาดูกันว่า ใครบ้างได้ประโยชน์จากการผ่อน 0 %

1.ลูกค้า ลูกค้าเจอมือถือราคา 30,000 บาทผ่อน 0 % นาน 10 เดือน ไม่ต้องจ่ายทีเดียว 30,000 บาท จ่ายแค่เดือนละ 3,000 บาทก็ใช้เงินคล่องขึ้นมันทำให้เราเอาเงินที่เหลือไปหมุนทำอย่างอื่นได้ แต่ที่สำคัญมันทำให้ คุณซื้อของแพงได้ง่ายขึ้น นั่นคือประโยชน์ของลูกค้า แต่ลืมไปว่ายังมีหนี้ที่ต้องใช้อีก 10 เดือน

2.ร้านค้า การมีโปรโมชั่น 0 % ทำให้ผู้ซื้อตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ทำให้ขายได้เร็วขึ้นมากขึ้น ไม่ต้องกังวลว่าของแพงจะขายไม่ได้ ต่อให้สินค้าราคา 1 แสน ก็เหลือจ่ายเดือนละหมื่น เพราะถ้าจ่ายแสนก้อนเดียวก็อาจจะไม่ไหว ดังนั้นตรงนี้ร้านค้าได้ประโยชน์เต็มๆ มันก็เลยทำให้ขายได้เยอะขึ้น นอกจากนั้นได้ความสบายใจที่ไม่ต้องคอยเช็คเครดิตลูกค้า หรือกลัวลูกค้าจะเบี้ยว เพราะมีบุคคลที่ 3 มาช่วยการันตีให้แล้วคือธนาคารเจ้าของบัตรเครดิต

3.ธนาคาร เมื่อมีโปรโมชั่น 0 % ใครก็อยากใช้ ทำให้คุณมีความผูกพันกับบัตรเครดิตของธนาคารมากขึ้น ใช้บัตรบ่อยขึ้น ทางธนาคารก็ได้เงินจากคุณมากขึ้น บางครั้งอาจมี 2-3 % ที่จะถูกผลักภาระไปให้ผู้บริโภค คือคนที่รูดบัตรเป็นคนจ่ายเอง หรือบางครั้งร้านค้าก็จะเป็นคนแบกภาระนั้นเอง ซึ่งถ้าคุณเคยใช้บัตรเครดิต คุณก็คงเคยได้ยินจากเจ้าของร้านว่า ถ้าใช้บัตรใบนี้ต้องชาร์ตเพิ่ม 3 % นะ  และบางร้านก็ไม่อยากจะรับบัตรเครดิต เพราะเค้าไม่ต้องแบกรับภาระตรงนี้เอง  และสิ่งที่ธนาคารจะได้เพิ่มขึ้นก็ตรงที่ เมื่อลูกค้ารูดซื้อสินค้าแล้ว แต่ลูกค้าไม่สามารถชำระให้ธนาคารเจ้าของบัตรไม่ทัน ธนาคารก็จะคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราที่สูงถึง 18 % ต่อปี ซึ่งถ้าคุณลงทุนแล้วได้กำไร 18 % ต่อปีคือยอดเยี่ยมที่สุด  แต่ถ้าคุณต้องเป็นผู้จ่าย 18 % ต่อปี มันตรงกันข้ามคือเป็นสิ่งที่ ยอดแย่ เพราะมันจะทบต้นทบดอก และการที่ธนาคาร ส่งข้อความไปเตือนทวงหนี  ส่งจดหมายไปเตือนทวงหนี้ และโทรไปเตือน ทวงหนี้ ค่าใช้จ่ายในการเตือนทั้งหมด คุณเป็นผู้จ่ายทั้งสิ้น  ซึ่งตรงนี้ธนาคารเรียกว่า ค่าธรรมเนียมในการทวงถาม

ที่กล่าวมาทั้งหมดคือผู้เส้นทางของผุ้ที่ได้รับผลประโยชน์และเสียประโยชน์จากการผ่อน 0 % ทั้ง 3 ฝ่าย รู้เช่นนี้แล้วก็ต้องระมัดระวังจากการผ่อนชำระ 0 % ให้มากขึ้น เพราะถ้าผ่อนจ่าย 0 %  หลายๆรายการจนเพลิน  รายรับที่ได้อาจจะไม่พอ  ทำให้เกิดหนี้สินสะสม จากการผ่อน 0 % ในที่สุดก็คุณจะไปต่อไม่ไหว

ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ GUรู็ การเงิน 
เวปไซด์ mee-money.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook