ธปท.ประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจใหม่ หลังจากที่ปี 64 ประมาณการณ์ไว้ 32 หลังผลกระทบโควิดระบาดหนัก ระบุตัวเลขทางเศรษฐกิจ ในไตรมาส 2 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาคเอกชนหดตัว รอวัคซีน ที่ช่วยเยียวยาและช่วยกระตุ้นตัวเลขเศรษฐกิจของไทย
ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหาภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยดัชนีตัวเลขทางเศรษฐกิจประจำไตรมาส 2 ว่า เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากการแพร่ระบาดระลอก 3 ของโควิด-19 พบว่า

การบริโภคภาคเอกชนยังอ่อนแอ ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวยังซบเชาต่อเนื่อง แต่ก็ยังมี เรื่องที่น่าดียินดีคือการส่งออกสินค้า
ไปต่างประเทศ ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ประเทศคู่ค้า ด้านความเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ
ทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนๆ ด้านตลาดแรงงานยังคงประสบปัญหามีความเปราะบาง สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลน้อยกว่าเดือนก่อน รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทยมีดังนี้
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วปรับดีขึ้นบ้างจากเดือนก่อน หลังจากภาครัฐทยอยผ่อนคลาย
มาตรการควบคุมการระบาดตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม อย่างไรก็ดี เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนโดยรวมยังอยู่ในระดับ
ต่ำ สอดคล้องกับรายได้และความเชื่อมั่นของครัวเรือนที่อ่อนแอจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19
มูลคำการส่งออกสินค้าพื้นตัวตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าและวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่อยู่ในช่วงชาขึ้นเป็นการช่วยพยุง
การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนภาคเอกชน ส่งผลให้การส่งออกยังเพิ่มขึ้นในหลายหมวด โดยเฉพาะสินค้าเกษตร
แปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ การสงออกเหล็กเร่งขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการเปลี่ยนไปเน้น
ตลาดส่งออกมากขึ้นในช่วงที่ความต้องการในประเทศลดลง

มูลค่าการนำเข้าสินค้าที่ปรับลดลงจากเดือนก่อน โดยเฉพาะหมวดเชื้อเพลิงและสินค้าอุปโภคบริโภค การนำเข้าวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องสอดคล้องกับการฟื้นตัวของภาคการส่งออก การพยุงเศรษฐกิจของภาครัฐ นั้นมีรายจ่ายประจำขยายตัวมากขึ้น
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อกลับมาเป็นบวกตามสินค้าหมวดพลังงาน เนื่องจากราคาน้ำมันภายในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่ม เนื่องจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ลดลงเกินคาด ตลาดน้ำมันดิบได้รับแรงสนับสนุนจากค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนตัวลง สะท้อนถึงความต้องการที่อยู่ในระดับสูง ถึงแม้ว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 จะเพิ่มสูงขึ้นก็ตาม นอกจากนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังไม่มีแนวโน้มที่จะทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ โดยจะรอให้ตลาดแรงงานสหรัฐฯ แข็งแกร่งขึ้นก่อนที่จะตัดสินใจถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ราคาน้ำมันเบนชิน
ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ และการส่งออกน้ำมันเบนซินที่มากขึ้นของเกาหลีใต้ในช่วงต้นเดือน ส.ค. 64
ราคาน้ำมันดีเซล
ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความต้องการที่ยังจำกัดในบางภูมิภาค
ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ มาร์เก็ตติ่ง
เวปไซด์ mee-money.com