วัฒนธรรมของจีนส่งผลต่ออุตสาหกรรมต่างๆของจีนอย่างไร

จีน

การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมของจีนส่งผลต่ออุตสาหกรรมต่างๆของจีนอย่างไร

จากสถานการณ์กักตัวจาก Covid-19 ที่ทำให้ผู้ใช้งานแพลทฟอร์มทางออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน อุตสาหกรรมออนไลน์ จาก Alibaba และ Tencent สองบริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนได้เข้ามาปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันไปอย่างมาก ตลาดจีนออนไลน์ได้รับความนิยมซึ่งส่งผลต่อการเม็ดเงินลงทุนที่ไหลเข้ามาทำให้มูลค่าการลงทุนเพิ่มสูงขึ้นแต่หลังจากรัฐบาลได้เข้ามาควบคุมธุรกิจเอกชน ปราบปรามพฤติกรรมอันขัดต่อกฎหมายต่อต้านการผูกขาดตลาดและผูกขาดธุรกิจ จึงมีคำสั่งให้ปรับ “อาลีบาบา” กลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซ ถูกรัฐบาลสั่งปรับเป็นจำนวนเงินกว่า 8.8 หมื่นล้านบาท หรือราว 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐที่ผ่านมา ทำให้หุ้นของ Alibaba ลดลงอย่างมาก

การควบคุมอุตสาหกรรมเกมส์  เมือมีมาตรการการควบคุมการเล่นเกมส์ของเยาวชน ส่งผลให้หุ้นของเทนเซ็นต์ร่วงกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้มูลค่าหลักทรัพย์ของบริษัทหายไปมากถึง 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยเกือบ 2 ล้านล้านบาท เนื่องจากรัฐบาลมองว่า เกมส์เปรียบเสมือนฝิ่นทำให้เกิดการเสพติดและสุขภาพจิตที่แย่ มีปราบปรามเว็บไซต์ สื่อต่างๆ ที่มีเนื้อหารุนแรง เกี่ยวข้องกับการพนัน การออกกฎจำกัดการเล่นเกมส์ของเยาวชนให้เหลือเพียง 3ชั่วโมงต่อสัปดาห์ รัฐบาลจีนมองว่าจะส่งผลดีต่อเยาวชนไม่ให้ติดเกมส์มากเกินไป 

การควบคุมอุตสาหกรรมด้านสื่อบันเทิง

การเข้ามาควบคุมขออุตสาหกรรมด้านสื่อบันเทิงของรัฐบาลจีน เช่น การกำหนดแนวทางใหม่ การพุ่งเป้าไปยังบุคคลในวงการบันเทิงจีน ให้เป็นแบบอย่างที่ดีของเยาวชน การมีบทลงโทษที่มากขึ้นกับนักแสดงที่มีพฤติกรรมผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม เช่น จัดการกับศิลปินนักร้องนักแสดงที่มีมุมมองทางการเมืองที่ไม่ถูกต้อง และกลุ่มศิลปินนักแสดงชายหน้าหวานที่อาจสร้างอิทธิพลในทางที่ไม่ดีต่อเยาวชนซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมในจีนได้รับความนิยมมากขึ้น จะเห็นได้จากสื่อบันเทิงมีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในด้านคุณภาพและโครงสร้าง มีการให้บริการด้านทีวีซีรีส์จีน ภาพยนตร์ วาไรตี้โชว์ การ์ตูน ที่หลากหลาย 

แนวโน้มในอนาคต การจัดระเบียบของจีนที่มีความเข็มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชาติการที่รัฐบาลเข้ามาควบคุมเศรษฐกิจและสังคมอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ แต่ทางรัฐบาลก็ได้ออกกฎหมายมาผลักดันนวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ยกตัวอย่างแบรนด์จีนอย่าง Xiaomi ที่แทรกซึมเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของคนทั่วโลกได้ในเวลาไม่นาน เป็นกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีจีนครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรม มีอัตราการเติบโตที่ก้าวกระโดด  แม้ว่าการออกกฎหมายควบคุมแต่การลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยีมีแนวโน้มการเติบโตที่สูงขึ้นเรื่อยๆของจีน  แล้วอุตสาหกรรมต่างๆที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการนี้ ต่อไปรัฐบาลจีนผ่อนปรนหรือลดระดับกฎระเบียบนี้ไหม หากรัฐบาลจีนยอมผ่อนปรนก็จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมเหล่านี้กลับมาสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศอีกครั้ง

ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ มาร์เก็ตติ่ง 
เวปไซด์ mee-money.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

วัตถุดิบในจีนขึ้นราคาก้าวกระโดด

จีน

วัตถุดิบในจีนขึ้นราคาก้าวกระโดด เป็นโอกาสของอาเซียนและไทยหรือไม่?

เมื่อเข้าสู่ไตรมาสแรกของปี 2021 เป็นต้นมา ราคาวัตถุดิบโดยเฉพาะเพื่อการอุตสาหกรรมหนักทั้งโลหะและพลาสติกพร้อมใจกันขึ้นราคาอย่างหนัก บางหมวดเช่น หมวดน้ำมันและแก๊ซธรรมชาติเพิ่มขึ้นถึง 99% และกลุ่มเหล็กก้อนต้นน้ำปรับราคาเพิ่มขึ้นมากกว่า 25%  ทำให้เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่สองโรงงานผู้ผลิตในประเทศจีนจึงออกมาโวยกันทั่วหน้า เรียกร้องให้รัฐบาลจีนเข้ามาจัดการ

โรงงานโลกอย่างจีนกำลังเกิดปัญหาในการควบคุมราคาสินค้าเพราะอุตสาหกรรมต้นน้ำที่ผลิตวัตถุดิบต้นทางไม่ว่าจะเป็นเหล็กก้อนดิบหรืออุตสากรรมกลั่นน้ำมันทั้งหลายพากันขึ้นราคาวัตถุดิบพร้อมๆกัน ในขณะที่โรงงานผู้ผลิตสินค้ากำลังปรับลดกำลังการผลิตเนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลง

ยิ่งสร้างผลกระทบเป็นลูกโซ่เพราะเมื่อต้นทุนเพิ่มขึ้นแบบที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ทำให้โรงงานยิ่งระมัดระวังในการรับออเดอร์ใหม่จากลูกค้า เพราะถ้าหากรับมาแล้วราคาวัตถุดิบปรับขึ้นอีกก็มีสิทธิถึงขั้นขาดทุนได้ทันที ยิ่งส่งผลให้ยอดการสั่งวัตถุดิบในอุตสาหกรรมหนักไม่กระเตื้อง โดยที่ตัวอุตสาหกรรมต้นน้ำเหล่านี้เน้นที่การผลิตคราวละมากๆเพื่อให้ต้นทุนถูกลง ถ้าหากโรงงานผลิตสินค้าไม่ส่งออเดอร์เข้ามาเพียงพอ ต้นทุนการผลิตก็จะยิ่งกระทบให้มีราคาสูงมากขึ้นอีก

หันมาดูสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศจีนบ้าง ที่ยังวิ่งสวนทางกับการขึ้นราคาวัตถุดิบประเภทเหล็กและพลาสติกในอุตาหกรรมต้นน้ำที่พุ่งกระฉูด กลุ่มอาหารเพิ่มราคาไม่เกิน 3% และส่วนใหญ่ของสินค้าอุปโภคไม่ได้เพิ่มราคาเลย 

ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมหนักเช่นเหล็กและพลาสติกจะมากจะน้อยย่อมมีสัดส่วนในสินค้าประจำวัน เช่นภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ แต่อาจเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือเพียงแต่ว่ายังกระทบมาไม่ถึงเท่านั้น

ฟังดูแล้วเหมือนว่าจีนโรงงานของโลกกำลังเผชิญปัญหาครั้งใหญ่ นี่น่าจะเป็นโอกาสของอาเซียนหรือเปล่า ไทยที่ซบเซาอย่างมากในฐานะทางเศรษฐกิจจะได้ยินดีกับความปั่นป่วนของผู้ผลิตในประเทศจีนหรือไม่

คำตอบคือไม่

เพราะว่าราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นในประเทศจีนไม่ได้เป็นเพียงผลกระทบที่เกิดภายในประเทศจีนอย่างเดียว แต่มาจากราคาวัตถุดิบต้นน้ำที่ปรับขึ้นทั่วโลกด้วย เนื่องมาจากพิษโควิดที่ทำให้ทุกพื้นที่มีการหยุดการผลิต ทั้งที่มาจากการอุปสงค์ที่ลดต่ำลงบวกกับคนทำงานที่ต้องหยุดทำงานจากการติดเชื้อหรือกักตัว 

ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเทียบระหว่างสินค้าพลาสติกและสินค้าโลหะ โลหะเป็นวัตถุดิบที่อาเซียนไม่มีอุตสาหกรรมต้นน้ำเป็นของตนเองเลย และที่ผ่านมา 25% ของเหล็กดิบและเหล็กแปรรูปนั้นนำเข้ามาจากประเทศจีน ดังนั้นถ้าโรงงานผู้ผลิตจีนมีปัญหาเรื่องราคาวัตถุดิบปรับตัวขึ้นในประเทศ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าไม่ช้าก็เร็วมากที่อาเซียนจะต้องเกิดผลกระทบครั้งใหญ่

ในส่วนของน้ำมัน อาจมีโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก และอุตสากรรมกลั่นน้ำมันอยู่แพร่หลายในอาเซียนอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีเพียงพอกับความต้องการ แม้ว่าตลาดภายในจะหดตัวลงแต่ราคาเม็ดพลาสติกก็ต้องปรับราคาขึ้นตามตลาดโลกอย่างไม่ต้องสงสัย

ในส่วนของไทยเหล็กนำเข้าจากจีนคือแหล่งซื้อหลักมานาน ไม่ต้องลืมตาดูก็ต้องรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ส่วนพลาสติกนั้นเป็นที่รู้กันว่าด้วยระบบภายในบางอย่าง บางทีผู้ผลิตในเวียดนามยังซื้อเม็ดพลาสติกอย่างเราได้ถูกกว่าที่ภายในประเทศขายกันเองเสียอีก

น่าหวาดเสียวยิ่งนัก

ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ มาร์เก็ตติ่ง 
เวปไซด์ mee-money.com