ทำไมโรงเรียนควรสอนเรื่องการเงินมากกว่าสอนให้ติดมหาวิทยาลัยดัง

การเงิน

จากที่มีประเด็นดราม่าของการศึกษาในโรงเรียนไทย และมีหลายคนที่ไม่ได้เรียนรู้เรื่องศาสตร์การออมเงินในปัจจุบันอย่างเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดอกเบี้ย การวางแผนการออมในระยะสั้นและระยะยาว การวางแผนทำประกันชีวิต การศึกษาเรื่องการตลาด การจัดการเงิน รวมถึงการคำนวณเรื่องภาษี ซึ่งเป็นเรื่องที่เบสิกมาก ไม่ควรเจาะจงแค่กลุ่มที่เรียนสายบริหารธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่การเงินควรมีศึกษาในห้องเรียนในความรู้เบื้องต้น เพื่อที่เยาวชนจะได้วางแผนการเงินอย่างมีระบบ นอกจากนี้ทำให้ใช้ชีวิตเมื่อยามที่เป็นผู้ใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเอาตัวรอดเป็นในแต่ละสถานการณ์มากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบได้ในอนาคต

การเงินเป็นสิ่งที่ควรสอน ไม่ใช่แค่ให้เด็กหารายได้เสริมตั้งแต่อายุยังน้อย หรือระหว่างเรียนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ควรมีสอนในหลักสูตรอย่างมาก เช่น ควรตั้งเป็นชุมนุมการเงิน (หรือควรมีการทำธนาคารโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะเปลี่ยนผู้บริหารหรือไม่ก็ตาม) เพื่อพัฒนาการเรียนรู้เรื่องคุณค่าของเงินมากขึ้น สามารถตั้งเป้าหมายในระยะสั้นและยาวได้ ซึ่งสิ่งนี้โรงเรียนควรจะใส่ใจสม่ำเสมอ และควรทำอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งจะได้เรียนรู้เรื่องรายรับ-รายจ่ายของตนเองในแต่ละปีว่าทำอย่างไรบ้าง แล้วเราได้อะไรจากการออมเงินของธนาคารโรงเรียน ส่วนอีกเรื่องที่ควรให้มี เช่น ภาษีอากร ซึ่งการคำนวณควรเป็นภาษีเบื้องต้น ควรทำให้เด็กทำความรู้จักว่าภาษีคืออะไร ทำไมเราต้องจ่าย บังคับว่าต้องจ่ายไหม จะต้องจ่ายในอัตรากี่% จะวัดที่ฐานรายได้ร่วมด้วยหรือไม่ และจ่ายแล้วเราได้อะไรกลับคืนมา

อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรปิดกั้น คือการให้เด็กนำของมาขายโดยไม่ปิดกั้นว่าจะขายอะไร (ยกเว้นสิ่งของผิดกฎหมาย)  ควรขายของเพื่อฝึกฝนในเรื่องของกำไร-ขาดทุน แบบเรียนรู้จากประสบการณ์จริง และควรให้คำแนะนำเรื่องนี้อย่างเหมาะสม เพื่อที่เด็กสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่เด็กจนกระทั่งเติบโต

ในปัจจุบันการศึกษาไทยควรปรับปรุงตั้งแต่โครงสร้างเกือบทั้งหมด เพราะมันมุ่งเน้นไปที่สอบติดมหาวิทยาลัยดังๆ กับติดค่านิยมสอบติดคณะแพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ หรืออาชีพอื่นๆ ที่ใครๆ มองว่าเป็นอาชีพมีเกียรติ เป็นที่เชิดหน้าชูตา แต่ลืมสอนว่ากว่าจะไปถึงจุดนี้ต้องใช้เงินเท่าไหร่กว่าจะมาถึงตรงนี้ได้ หากมีการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน เชื่อได้ว่าเด็กและเยาวชนสามารถลำดับความสำคัญได้ถูก ระวังการใช้จ่ายในปัจจุบันไม่ว่าจะเรื่องการเกิดหนี้ดีและหนี้เสีย การใช้จ่ายซื้อของ ความคุ้มค่าของสิ่งที่ซื้อมา ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถเรียนรู้กันได้ไม่ยาก

ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ GUรู็ การเงิน 
เวปไซด์ mee-money.com

ประกันออมทรัพย์…การออมเงินแห่งความหวังช่วงโควิด

การออมเงิน

การออมเงินในปัจจุบันที่เน้นงอกเงยอย่างงดงามมากที่สุด หลายคนคงนึกถึงการลงทุน ไม่ว่าจะลงทุนซื้อสลากออมสินบ้าง ลงทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์บ้าง แต่ใครจะรู้ว่าการทำประกันออมทรัพย์ก็เป็นสิ่งที่ช่วยในด้านการลงทุนได้เป็นอย่างดี เพราะเหมือนกับเราได้เก็บเงินออมไปในตัว ซึ่งผู้เขียนมองว่านอกจากประกันโรคโควิดแล้ว ควรซื้อประกันออมทรัพย์ควบคู่ด้วย เพื่อในอนาคตข้างหน้าเมื่อกรมธรรม์สิ้นสุด สามารถรับเงินประกันคืนแล้วต่อกรมธรรม์ต่อได้ทันที ในบทความนี้ผู้เขียนจะมานำเสนอว่าในช่วงโควิดทำไมเราควรทำประกันออมทรัพย์ควบคู่ด้วย

ประกันออมทรัพย์ก็เปรียบเสมือนประกันแห่งความหวัง เนื่องจากในยุคนี้ที่ประเทศไทยไม่สามารถตอบโจทย์ด้านการออมเงินมากเท่าที่ควร การออมเงินแบบปกติจึงเหมือนแค่ผ่านไปวันต่อวันมากกว่า ถ้าทำประกันออมทรัพย์ด้วย จะเป็นการลงทุนรูปแบบหนึ่งที่ค่อนข้างจะปลอดภัย เบี้ยประกันรายงวดถูกลง แต่ต้องอ่านรายละเอียดกรมธรรม์ครบทุกขั้นตอน ทั้งผลประโยชน์ระหว่างสัญญา สิทธิ์ลดหย่อนภาษีตามกฎหมายได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี แต่รูปแบบของข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการประกันชีวิตของแต่ละบริษัท ควรศึกษาอย่างรัดกุมมากๆ เพื่อสะดวก รวดเร็ว ราบรื่น เราสามารถทำกรมธรรม์ต่อตัวแทนประกันชีวิต เพื่อซื้อสัญญาด้วยการตัดสินใจของตัวผู้ซื้อเอง อาจจะซื้อเพิ่มเติมโดยไม่ต้องยัดเยียดว่าของใครดีกว่า เพื่อให้บริษัทสามารถมอบลักษณะของความคุ้มครอง ไม่ว่าจะด้านการรักษาพยาบาล คุ้มครองเพื่อทรงชีพ คุ้มครองเพื่อการมรณะ หรือช่วยคุ้มครองในด้านอื่นๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความสบายใจ ความอุ่นใจให้แก่ตัวเราและคุณเองยิ่งขึ้น ซึ่งถ้ามีตัวเลือกคอยดูแลจะทำให้คุณลดความวิตกกังวล เนื่องจากมีตัวเลือกเดียวในการออมเงินได้

ประกันออมทรัพย์มีอยู่ 2 ประเภทที่มีในแต่ละบริษัทประกันชีวิต เช่น ประกันออมทรัพย์แบบไม่มีเงินปันผล กับประกันออมทรัพย์แบบมีเงินปันผล จะว่าไปการลงทุนในประกันออมทรัพย์ไม่ว่าแบบไหนก็ควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดในเรื่องความเป็นไปได้ จะว่าไป…ประกันออมทรัพย์ก็ช่วยให้เรามีเงินก้อนของตนเองไว้ในอนาคตอีกด้วย

ถ้ามองดีๆ จะรู้เลยว่าการทำประกันออมทรัพย์มีประโยชน์กว่าที่คิด จะเห็นได้ว่าในหลายๆ คนที่อยู่ในช่วงวิกฤตโควิดไม่ว่าจะในระลอกไหนก็ตาม คนที่มีประกันชีวิตประเภทออมทรัพย์จะประคับประคองตัวเองได้มากกว่า ซึ่งคนกลุ่มนี้จะวางแผนตั้งแต่เริ่ม เพื่ออนาคตของตนเอง และลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่า (จะมองว่าคนไม่ทำประกันออมทรัพย์เป็นเรื่องผิดเสมอไปหรอกนะ) แต่ในมุมมองของผู้เขียน ไม่ว่าจะยากดีมีจน ตอนนี้ควรทำไว้เถอะนะ…ขอร้องล่ะ

ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ GUรู็ การเงิน 
เวปไซด์ mee-money.com

เราจะออมเงินแต่ละบาทอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด

ออมเงิน

ความปลอดภัยทางการเงินจะเกิดขึ้น เมื่อรายได้ของคุณถือว่าเพียงพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่คุณมี มันบ่งบอกว่าคุณมีเงินเพียงพอที่จะจัดการกับเหตุฉุกเฉินใดๆ ได้สบายๆ และทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้น ความปลอดภัยทางการเงินยังช่วยประหยัด และมีเงินทุนเพียงพอสำหรับเป้าหมายในอนาคตทั้งหมดที่คุณมีอยู่ เมื่อคุณพบการรักษาความปลอดภัยประเภทนี้คุณจะประสบกับความอุ่นใจที่ส่งผลให้ระดับความเครียดลดลงและความพึงพอใจในชีวิตที่สูงขึ้น

เราเองก็อยากออมเงินอย่างปลอดภัย และสบายใจในอนาคตของเราข้างหน้า เอาล่ะจะมาแนะนำวิธีการออมเงินแต่ละบาทอย่างไรให้คุ้มค่า สบายใจ และปลอดภัยที่สุดโดยไม่ต้องออกแรงหาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ดังนี้

ศึกษาข้อมูลการออม – ขั้นตอนแรกในการรักษาความปลอดภัยทางการเงินคือการประหยัดเงิน เงินควรได้รับการบันทึกก่อนที่จะใช้จ่าย เป็นการดีที่อย่างน้อย 10% ควรอยู่ในบัญชีออมทรัพย์ที่มีภาระดอกเบี้ย หรือบัญชีการลงทุนที่กำหนดเป็นพิเศษ ไม่ว่าคุณจะได้รับเงินของคุณหรือสิ่งที่ทำเพื่อให้ได้มาส่วนเล็กๆ ควรได้รับการบันทึกเสมอ ไม่สำคัญว่าจะได้รับเงินจากรายรับที่ใด เพื่อป้องกันภาวะเงินขาดมือในภายหลังอีกด้วย

ติดตามการใช้จ่ายของตนเอง – วิธีถัดไปในการบรรลุความปลอดภัยทางการเงินคือการติดตามการใช้จ่ายทั้งหมดของคุณ คุณควรทำเครื่องหมายสิ่งที่คุณทำก่อน (เช่น เดบิต เครดิต) จากนั้นคุณควรประเมินวิธีการทั้งหมดที่คุณใช้ในสิ่งที่คุณทำ อาจเป็นไปได้มากว่าคุณจะพบว่าตัวเองประหลาดใจกับจำนวนเงินที่คุณใช้จ่ายและสิ่งที่คุณใช้จ่าย เมื่อคุณรู้ว่าเงินของคุณกําลังจะไปไหนคุณควรหาวิธีหยุดการใช้จ่ายนั้นเพื่อให้คุณสามารถประหยัดได้มากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

สร้างงบประมาณ – เป็นการตั้งเป้าหมายว่าจะทำอะไร (เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถ ไปเที่ยว หรือกำหนดอนาคตทางการศึกษา) เพื่อสัมผัสกับความมั่นคงทางการเงินที่แท้จริง จำเป็นต้องสร้างงบประมาณ ขั้นแรก ให้จัดเค้าร่างสิ่งที่คุณทำ จากนั้นระบุสิ่งที่คุณใช้จ่าย คิดให้ออกว่าคุณกําลังทำพอหรือไม่ ถ้าไม่คุณจะต้องลดสิ่งที่ไม่จำเป็น อย่าลืมรวม 10% ที่คุณประหยัดในงบประมาณของคุณ เมื่อสร้างงบประมาณแล้ว คุณต้องยึดติดกับมันเพื่อไม่ให้พลาด)

กำหนดความต้องการของคุณก่อนการใช้จ่าย – เมื่อคุณถูกกิเลสครอบงำให้ทำการซื้อ คุณจำเป็นต้องคิดเกี่ยวกับมันก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ มันเป็นสิ่งที่คุณต้องการจริงๆ หรือไม่ มีทางเลือกที่ถูกกว่าหรือไม่? คุณควรค้นคว้าก่อนตัดสินใจซื้อ หากคุณตัดสินใจว่ามันเป็นสิ่งจำเป็น คุณควรเปรียบเทียบร้านค้าเพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับข้อเสนอที่ดีที่สุด เช่น โปรโมชันส่งฟรี เคลมซ่อมศูนย์ฟรี หรือลดแลกแจกแถม

หลีกเลี่ยงการใช้บัตรเครดิต – ในขณะที่มันเป็นความจริงที่ค่อนข้างง่ายที่จะได้รับการอนุมัติสำหรับเครดิตประเภทต่างๆ (เพียงบัตรประชาชนใบเดียวกับเอกสารทางการเงินก็อนุมัติง่ายแล้ว) สิ่งนี้นำไปสู่หนี้จำนวนมาก ด้วยการใช้เครดิตคุณจะจ่ายมากขึ้นสำหรับสิ่งที่คุณซื้อ เนื่องจากดอกเบี้ย หากคุณไม่มีเงินสด ควรใช้แบบโอนผ่าน QR Code หรือจ่ายบัตรเครดิตเพื่อเป็นส่วนลด หรือสะสมแต้มดีกว่า

ต้องบอกว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ดีมากในการรับมือกับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำลง เนื่องจากภาวะโควิด ทำให้การเงินชะงัก และภาวะเงินฝืดกับเงินเฟ้อตามมา การออมเงินอย่างปลอดภัยจะต้องมีความรอบคอบ มีสติในการใช้เงินให้มากๆ แม้ว่าสภาวะแบบนี้ไม่มีใครอยากจะพอเพียงทั้งที่ตัวเองกรอบสักเท่าไหร่ แต่การระวังเรื่องการใช้จ่าย การลำดับความสำคัญว่าอะไรควรหรือไม่ควร ก็ช่วยให้เราใช้จ่ายและออมเงินอย่างปลอดภัยได้มากเช่นกัน

ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ GUรู็ การเงิน 
เวปไซด์ mee-money.com