ทุกวันนี้มีคู่แข่งในธุรกิจเดียวกับเรามากมาย แต่ทำอย่างไรถึงจะแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด เพื่อให้เราโดดเด่นกว่าคู่แข่งและเป็นที่น่าจดจำของผู้บริโภค การสร้างแบรนด์ให้ผู้บริโภคจดจำได้ผ่านการเล่าเรื่องด้วยเทคนิค Story Telling ในยุคที่ทุกแบรนด์ต่างมีสื่ออยู่ในมือแบบเท่าเทียมกัน
การที่จะนำเสนอตัวแบรนด์และสินค้าของตัวเองให้กับผู้บริโภคได้อย่างไร้ขีดจำกัดและไร้พรมแดน คือการทำ Brand Story telling ที่สร้างการจดจำและความรู้สึกร่วมของผู้บริโภคจนเกิดเป็นความผูกพันกับแบรนด์ เหมือนการมีแฟนคลับคอยติดตามแบรนด์ เพราะว่าหากผู้บริโภคจดจำได้ มีความรู้สึกผูกพันกับแบรนด์ เมื่อนึกถึงสินค้าในตลาดกลุ่มนี้ก็จะนึกถึงแบรนด์เราเป็นอันดับแรก เรียกได้ว่า Story telling ถึงจะเป็นเทคนิคในการสร้างแบรนด์ที่เก่าแล้ว แต่ยังใช้ได้ในทุกยุคทุกสมัย สามรถทำให้ธุรกิจก้าวสู่การเป็นดาวเด่นของตลาดนั้นๆได้
ทำไมต้องทำ Story telling เนื่องจากจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึก และอินไปกับแบรนด์ได้ง่ายขึ้น มากกว่าการให้ข้อมูลแบรนด์แบบทั่วไป เพราะว่าการเล่าเรื่องนั้นจะกระตุ้นสมองหลาย ๆ ส่วน เช่น ส่วนการประมวลผลภาพ เสียง กลิ่น การเคลื่อนไหว และความคิด นอกจากนี้สมองยังทำการจดจำ สร้างอารมณ์เข้าไปร่วมในเวลาการเล่าเรื่อง นี่จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่สำคัญว่าทำไมผู้ประกอบการในยุคนี้ถึงควรปรับเปลี่ยนวิธีการนำเสนอจากข้อเท็จจริงมาสู่รูปแบบของ Story telling
การทำ Brand Story telling จะต้องมีความชัดเจนมากๆ ต้องหา Emotional Connection ให้เจอ หรือที่เรียกว่าการเชื่องโยงด้วยความรู้สึกและอารมณ์ร่วมกับกลุ่มเป้า และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีอย่างคือความเหมาะสมกับธุรกิจที่แตกต่างกันไป เพื่อทำให้แบรนด์ของมีเอกลักษณ์ แตกต่างจากคู่แข่ง สร้างความผูกพันของแบรนด์กับผู้บริโภค และมีเสน่ห์
ความสำคัญของ Storytelling อย่างน้อยๆ ก็ช่วยแสดงให้เห็นถึง ‘ทัศนคติ-จุดยืน’ ของธุรกิจ ผ่านการบอกเล่าเรื่องราวโดยมีจุดประสงค์แฝงเบื้องหลัง เพื่อดึงดูดทั้งผู้บริโภค และนักลงทุนหน้าใหม่ๆ โดยเฉพาะเหล่าสตาร์ทอัพ ค่อนข้างมีความจำเป็นที่จะสร้าง Storytelling เพื่อดึงดูดการลงทุน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มเป้าหมายด้วย
3 สูตรการเล่าเรื่อง Storytelling ให้แบรนด์ของคุณเป็นที่น่าจดจำ
1 วิธีที่คุณจะสร้างคอนเทนต์ตัวเองโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด คือการสร้างเรื่องราวของแบรนด์คุณให้มีเอกลักษณ์ น่าสนใจ และแตกต่าง ใช้วิธีการเล่าเรื่องหรือ Storytelling ที่เข้าใจได้ง่ายและแบ่งปันประสบการณ์ที่ท้าทายของคุณเอง ปัญหาต่าง ๆ ที่คุณเจอและวิธีรับมือ ความสำเร็จและคุณค่าของแบรนด์ของคุณที่ไม่มีแบรนด์ใดจะสามารถลอกเลียนแบบได้
สำหรับแบรนด์ที่ต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค เมื่อคุณกำลังสร้างคอนเทนต์ขึ้นมา ให้คุณนึกถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องการจากคุณอย่างแท้จริง (นอกเหนือจากเรื่องของสินค้าหรือบริการ) คุณลองนึกถึงคุณค่าทางอารมณ์ และสิ่งที่เราสามารถช่วยเหลือลูกค้าของเราได้ มีความเอาใจใส่ สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อนมนุษย์ หรือแม้แต่ทีมงานขององค์กร มากกว่าเรื่องของผลกำไรบริษัท
1. สูตรการเล่าเรื่อง (Storytelling) แบบ Before-After-Bridge
Story telling
นี่คือหนึ่งในสูตรการเล่าเรื่อง (Storytelling) ที่ได้รับความนิยมและง่ายที่สุดที่จะใช้ในการเล่าเรื่องราวของแบรนด์ และยังสามารถทำการเล่าเรื่องผ่านโซเชียลมีเดีย แคมเปญการตลาด หรือบน Page ได้เช่นกัน สูตรการเล่าเรื่องStorytelling แบบ Before-After-Bridge เป็นการนำเสนอผู้บริโภคด้วยรูปแบบของปัญหาที่ผู้บริโภคเผชิญ แล้วแบรนด์ของคุณสามารถแก้ไขปัญหานี้ให้พวกเขาได้ เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นและเริ่มเข้าใจว่าปัญหานั้นควรได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุด
ซึ่งแบรนด์เองควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าสิ่งที่ทางแบรนด์ระบุว่าเป็นปัญหามันสอดคล้องกับสิ่งที่ผู้บริโภคหลายคนกำลังประสบปัญหาอยู่หรือไม่ และควรแสดงให้ผู้บริโภคเห็นว่าเมื่อแก้ปัญหานั้นแล้วมันดีอย่างไร พร้อมทั้งแสดงให้ผู้บริโภคเห็นว่าต้องทำอย่างไรถึงจะไปถึงจุดนั้นได้ เมื่อพวกเขาเห็นแล้วว่าหากได้รับการแก้ไขแล้วจะส่งผลดีอย่างไรบ้างเราจึงควรแสดงให้เห็นว่าแล้วต้องทำอย่างไรถึงจะไปถึงจุดนั้นได้ด้วยการที่มีเรานี่แหละเป็นตัวช่วยเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย
Story telling
2. สูตรการเล่าเรื่อง (Storytelling) แบบ Problem-Agitate-Solve เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการเล่าเรื่องทำความเข้าใจได้ง่ายและสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายโอกาส ไม่ว่าจะเป็นโฆษณา การเขียนคอนเทนต์ลงโซเชียลมีเดีย สูตรการเล่าเรื่อง
ปัญหา – ปัญหาที่ผู้บริโภคกำลังเผชิญกับความเจ็บปวด
กวนใจ – สิ่งที่กวนใจ แล้วขยี้แผลหรือปัญหาตรงนั้นให้ผู้บริโภคมีอารมณ์ร่วม
แก้ไข – วิธีการแก้ปัญหาเหล่านั้น แสดงให้เห็นว่าแบรนด์สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้อย่างไร
Story telling
3 สูตรการเล่าเรื่อง (Storytelling) แบบ Three-Act Structure เป็นสูตรการเล่านิทานสมัยดึกดำบรรพ์ที่ถูกยังคงใช้ได้อยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นในละคร ภาพยนตร์ หนังสือ การ์ตูน วิดีโอเกม หรือแม้กระทั่งบทกวีก็สามารถใช้ได้ ที่เป็นที่นิยมเพราะเป็นสูตรการเล่าเรื่องที่ประสบความสำเร็จสูตรหนึ่งเลยทีเดียว สูตรการเล่าเรื่องนี้ ประกอบไปด้วย
ติดตั้ง – แนะนำตัวละครและฉากที่เกิดขึ้น
การเผชิญหน้า– การเผชิญกับความท้าทาย เจอกับอุปสรรคปัญหา ในส่วนที่สองนี้มักจะเป็นช่วงที่ยาวที่สุดของเรื่องราวทั้งหมดตัวละครหลักจะเผชิญหน้ากับความท้าทาย เพื่อขัดขวางไม่ให้ตัวละครไปถึงเป้าหมายได้ และจะเพิ่มความถี่ขึ้นเรื่อย
การยืนหยัด – การยืนหยัดต่อสู้กับปัญหาจนก้าวข้ามผ่านอุปสรรคมาได้ จนในที่สุดตัวละครหลักก็จะสำเร็จบรรลุเป้าหมายที่พวกเขาได้วางไว้ และเรื่องราวก็จบลง
Story telling
4. สูตรการเล่าเรื่อง (Storytelling) แบบ Freytag’s Pyramid สูตรการเล่าเรื่อง Storytelling นั้นประกอบไปด้วย
การแสดง นี่คือจุดเริ่มต้นของเรื่องราว การแสดงนี้จะแสดงเรื่องต้นเหตุที่ส่งผลกระทบต่อเหตุการณ์ที่จะดำเนินต่อไป
การลุกขึ้นลงมือทำ นี่คือฉากสำคัญของเรื่องเลยหล่ะ เพื่อจะเป็นการเล่าเรื่องให้ไปถึงจุดสำคัญของเรื่อง มักจะเป็นรวบรวมจุดสำคัญของเรื่องราวทั้งหมดตัวละครพยายามจะแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
จุดสำคัญ เป็นจุดที่เปลี่ยนแปลงโชคชะตาของตัวละคร เป็นส่วนที่สำคัญของเรื่องราวที่เจอกับปัญหา และมีความเครียดมากที่สุด
ล้มเหลว หลังจากเหตุการณ์สำคัญตัวละครอาจจะแพ้หรือชนะกได้ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นหลังจากพบกับอุปสรรคที่เจอแล้ว ตัวละครแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเปลี่ยนไปอย่างไรจากเหตุการณ์
การยืนหยัด จะเป็นช่วงแก้ไขปัญหาและยืนหยัดด้วยการต่อสู้ เมื่อเรื่องดำเนินมาถึงตอนจบนั้นเรื่องมักจะมีความสุขหรืออาจเป็นเรื่องที่เศร้า
Story telling
5.สูตรการเล่าเรื่อง (Storytelling) แบบ Simon Sinek’s Golden Circle สูตรการเล่าเรื่อง (Storytelling)
วงกลม 1 : Why – ทำไมถึงมีต้องมีบริษัทเรา บริษัทของเราเกิดขึ้นเพื่ออะไร เป็นการเริ่มตั้งถามให้กับคนในบริษัท
วงกลม 2 : How – ทำสิ่งที่พวกเขาทำได้อย่างไร? สิ่งที่โดดเด่นของแบรนด์คุณคืออะไร บริษัทเรามีดีกว่าคู่แข่งอย่างไร มีจุดต่างจากคู่แข่งตรงไหน ช่วยแก้ไขปัญหาอะไรให้กับผู้บริโภคและสังคมได้บ้าง
วงกลม 3 : What – บริษัทขายอะไร อุตสาหกรรมประเภทใด
เมื่อทุกคนในองค์กรรู้จักตนเองแล้วว่า บริษัทสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ไหน เป้าหมายที่จะทำเพื่อใคร เช่น บริษัทmicrosoftของบิล เกตท์ สร้างสิ่งที่จะมาเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดีขึ้น เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟแวร์รายใหญ่ของโลก
Story telling
6. สูตรการเล่าเรื่อง (Storytelling) แบบ Dale Carnegie’s Magic Dale Carnegie เจ้าของหนังสือขายดีตลอดกาลอย่าง “How to win friend and influence people” ได้นำเสนอสูตรการเล่าเรื่อง 3 ขั้นตอนง่าย ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของเหล่าผู้บริโภค และสร้างความน่าเชื่อถือ
อุบัติการณ์ – ประสบการณ์ส่วนบุคคล โดยการเล่าเรื่องเหตุการณ์ที่มาจากประสบการณ์ส่วนตัวของคุณเพื่อช่วยให้ผู้ฟังมีความรู้สึกร่วมกับคุณและพร้อมแบ่งปันประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกัน
ลงมือปฏิบัติ – แสดงให้ผู้ฟังเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องแก้ไขเหตุการณ์ด้วยการลงมือทำ และได้รับความช่วยเหลือจากแบรนด์ ซึ่งเป็นผู้ช่วยที่สำคัญ ซึ่งการเล่าเรื่องของคุณต้องมีความชัดเจน เพราะผู้ฟังอาจจะไม่ได้เข้าใจได้ทันที และรู้ว่าจะต้องทำอะไรต่อ หลังจากที่ฟังเรื่องราวของคุณ
ประโยชน์ – แสดงถึงความจำเป็นว่าทำไมผู้บริโภคถึงต้องทำตามและผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์อะไร
ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ เศรษฐกิจโลก
เวปไซด์ mee-money.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook