5 วิธีแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิต

5 วิธีแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิต

“บัตรเครดิต” กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิตในยุคสังคมไร้เงินสด เพราะบัตรเครดิตใช้รูดจ่ายแทนเงินสดตามร้านค้าต่างๆ เช่นร้านอาหาร และร้านขายสินค้า ได้ตามวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากสถาบันการเงิน หลายคนสงสัยว่าวงเงินคืออะไร คือยอดเงินที่ทางเจ้าของบัตรให้ใช้ได้สูงสุด เช่นให้มา สองหมื่น ก็ซื้อของอะไรก็ได้ แต่รวมกันทั้งหมดแล้วยอดรวมต้องไม่เกิน สองหมื่นบาท วันนี้เราจะนำเสนอ 5 วิธีแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิต

1.การแจกแจงรายการบัตรเครดิตค้างชำระ

ทำตารางสรุปหนี้ค้างจ่ายทั้งหมดว่า ขณะนี้มีหนี้บัตรเครดิตกี่ใบอะไรบ้างจำนวนเท่าไหร่บ้าง ดอกเบี้ยของแต่ละบัตรต่อปีเท่าไหร่ รวมถึงการจ่ายขั้นต่ำของแต่ละบัตรเครดิต เพื่อที่จะนำไปใช้วางแผนค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนเพื่อแบ่งสัดส่วนการจ่ายหนี้ทั้งหมดโดยเร็วที่สุด

Cr.pic: https://www.ananda.co.th/

2.การทำบัญชีรายรับรายจ่าย

บัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อดูความสามารถในการชำระหนี้ต่อเดือนแจกแจงรายจ่ายอะไรที่จำเป็นและรายจ่ายไหนก่อนและหารายได้เสริมต่างๆและเป็นการลดรายจ่ายส่วนเกินที่ไม่จำเป็นออกไป ทั้งนี้ แนะนำให้แบ่งสัดส่วนรายได้ออกเป็นส่วนๆเพื่อให้จัดการหนี้ได้ดีขึ้น

Cr.pic: https://fastwork.co/

3.ทยอยชำระหนี้

ตั้งเป้าหมายในการชำระหนี้ในแต่ละเดือนทยอยชำระหนี้ และปิดหนี้บัตรเครดิตลงทีละใบ โดยเริ่มจากหนี้ที่สร้างภาระมากที่สุดอย่างหนี้บัตรเครดิตที่คิดอัตราดอกเบี้ยเยอะที่สุด โดยการปิดบัตรที่มีมูลค่าหนี้น้อยสุด เพื่อตัดภาระดอกเบี้ยของบัตรเครดิต  วิธีหนึ่งที่ได้ผลคือการรวมหนี้ ยกตัวอย่างเช่น หนี้บัตรเครดิต หรืออาจจะเป็นหนี้สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น ที่เรามีอยู่หลายที่ มารวมไว้ที่เดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ สามารถเลือกผ่อนจ่ายเป็นงวดได้ตามกำลังที่เราไหวได้อีกด้วย

Cr.pic: https://www.gsb.or.th/

4.การซื้อสินค้าด้วยเงินสด

“การชำระด้วยเงินสด” คือการชำระค่าบริการและสินค้าทั้งหมดในจำนวนเต็มด้วยเงินสดที่เรามี หากยังคงใช้บัตรเครดิตจนมีหนี้เรื่อย ๆจะทำให้ไม่สามารถจ่ายได้ตามแผน  ดังนั้น การมีใช้เงินสดติดมือให้เป็น หากต้องใช้ก็ขอให้คิดและวางแผนการชำระเงินคืนให้ดีเพื่อที่จะได้มีเงินคงเหลือเอาไว้ปิดหนี้บัตรเครดิตที่เป็นอยู่

Cr.pic: https://www.ananda.co.th/

5.การรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต

เรียกได้ว่าเป็นการปรับโครงสร้างหนี้สินใหม่ทั้งหมด เช่น การกู้สินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อรีไฟแนนซ์ ซึ่งสินเชื่อส่วนบุคคลมักมีอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี นอกจากนี้การกู้สินเชื่อจากธนาคารมาโปะหนี้บัตรเครดิตยังช่วยให้การบริหารจัดการหนี้ง่ายขึ้นโดยเป็นการรวมหนี้หลายๆ ก้อนเป็นก้อนเดียวช่วยให้ง่ายต่อการชำระอีกด้วย แต่ถึงแม้ดอกเบี้ยจะถูกลง แต่ระยะเวลาที่ผ่อนยาวนานมากขึ้น ทำให้เมื่อนับยอดหนี้ทั้งหมดแล้ว อาจจะเป็นจำนวนเงินที่มากกว่าตอนแรก

Cr.pic: https://rabbitcare.com/

ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ เศรษฐกิจโลก 
เวปไซด์ mee-money.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook