5 ภาษี ในการประกอบธุรกิจ

5 ภาษี ในการประกอบธุรกิจ

ในการเป็นผู้ประกอบการ หรือกลายเป็นประชาชนทั่วไป ทุกวันเราต้องเสียภาษี ไม่กลับมากอบธุรกิจนั้น ภาษีหลักๆที่เราต้องจ่าย มีดังนี้

1.ภาษีมูลค่าเพิ่ม

          เป็นภาษีซึ่งเก็บจากมูลค่าของการซื้อขายสินค้าหรือบริการ อยู่ในอัตราภาษี 7 % ผู้ประกอบการได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยมียอดขายสินค้า/บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีหรือไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติ หากรายได้ถึง 1.8 ล้าน ต้องจดด้วย โดยจะมีการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการและต้องมีการออกใบกำกับภาษีเพื่อเป็นหลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม  เช่น ถ้าเรามีรายได้เกิน สองล้าน รัฐบาลบังคับให้ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม เราจึงต้องไปเรียกเก็บผู้ที่มาซื้อสินค้าและบริการเราอีกที

Cr.pic: https://diveshop.in.th/

2.ภาษีเงินได้

            คือภาษีทางตรงที่รัฐเรียกเก็บจากเงินได้ของผู้ที่มีรายได้ เข้าใจง่ายๆก็คือ ใครมีรายได้ คนนั้นต้องเสียภาษีเงินได้ โดยจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กับภาษีเงินได้นิติบุคคล ถ้าผู้ประกอบการประกอบธุรกิจโดไม่ได้จดทะเบียนเป็น นิติบุคคล จะต้องเสียภาษีแบบบุคคลธรรมดาซึ่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีเงินได้ มีหน้าที่ต้องยื่นทุกคน สำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็น นิติบุคคล จะต้องเสียภาษีเงินได้แบบนิติบุคคล 

Cr.pic: https://www.xn—-7wf0bmbkgc3en0e0dua4bj8o.com/

3.ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

           คือ จะหัก ณ ที่จ่าย ถ้ามีการจ่ายเงินเกิดขึ้น คนที่จ่ายเงินที่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัท หรือนิติบุคคล หัก ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับ ที่เป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาก็ได้ เพื่อนำส่งสรรพากร ตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัทจ้างช่างรับเหมาก่อสร้างเราจ่ายเงินเขา บริษัทมีหน้าที่ต้องหักค่าจ้างของเขาส่วนหนึ่งเป็น ภาษีแบบหัก ณ ที่จ่าย และยื่นให้กับสรรพากร

Cr.pic:https://www.iliketax.com/

4.ภาษีป้าย

“ภาษีป้าย” คือ ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายโฆษณาสินค้าต่างๆ เช่น ป้ายชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือ โลโก้บนวัตถุต่างๆ ที่ประกอบด้วยอักษร ภาพ ไม่ว่าจะเป็นป้ายทั่วไป ป้ายบนทางด่วน ป้ายผ้าใบ และป้ายไฟที่ใช้เพื่อหารายได้หรือการโฆษณา

ประเภท 1 ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน  = 3 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

ประเภท 2 ป้ายที่มีอักษรไทย รูปภาพ อักษรต่างประเทศ = 20 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

ประเภท 3 ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยเลย  = 40 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

   ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ  = 40 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

สูตรการคำนวณ : กว้าง x ยาว x (อัตราภาษี 3, 20, 40) หารด้วย 500 = ภาษีป้าย (ถ้าคำนวณแล้วไม่ถึง 200 บาท ก็ให้คิด 200 )

Cr.pic:https://www.iliketax.com/

5.ภาษีสรรพสามิต

            คือ ภาษีการขายที่เรียกเก็บเฉพาะสินค้าหรือบริการบางประเภท เช่นสินค้าที่บริโภคแล้วเกิดผลเสียทำลายสุขภาพ ศีลธรรมอันดี ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐฯ ที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ  เป็นต้น และจะต้องทำการแจ้งงบการเงินกากรมสรรพสามิตในพื้นที่ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

Cr.pic: https://www.matichon.co.th/

ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ เศรษฐกิจโลก 
เวปไซด์ mee-money.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook