1ปี เอลซัลวาดอร์ กับ Bitcoin

1ปี เอลซัลวาดอร์ กับ Bitcoin

ครบรอบ 1 ปีแล้วที่ประเทศเอลซัลวาดอร์ได้มีประกาศให้ Bitcoin กลายเป็นสกุลเงินหลักของประเทศ แต่ดูเหมือนว่าผลลัพธ์ในตอนนี้จะไม่เป็นไปตามที่หวังมากนัก โดยเมื่อปีที่แล้วประเทศเอลซัลวาดอร์ ซึ่งเป็นประเทศเล็ก ๆ ประเทศหนึ่งในแถบทวีปอเมริกากลาง ได้มีการประกาศเริ่มใช้งาน Bitcoin เป็นเงินสกุลหลักของประเทศแทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐ โดยท่านนายกนายกนายิป บูเกเร่ก็ได้มีการประกาศซื้อ Bitcoin ครั้ง

แรกเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2564 จำนวน 200 Bitcoin ที่ราคาประมาณ 47,000 เหรียญ หลังจากที่เข้าซื้อครั้งแรกราคา Bitcoin ก็ร่วงลงอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนี้ราคาของ Bitcoin อยู่ที่ประมาณ 19,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทางประเทศเอลซัลวาดอร์ได้เข้าซื้อครั้งล่าสุดในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ที่ราคาประมาณ 19000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ

จากการที่ราคาของ Bitcoin อยู่ในช่วงขาลงเนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและอีกหลาย ๆ ด้านทำให้ในตอนนี้ประเทศเอลซัลวาดอร์ขาดทุนจากการซื้อ Bitcoin ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้หลายอย่างนั้นอยู่ในทิศทางที่ไม่ดี แถมตอนนี้ประเทศเอลซัลวาดอร์ก็เสี่ยงที่จะเป็นประเทศที่ล้มละลายอีกด้วย

การทดลองเป็นเมือง Bitcoin ที่ล้มเหลว

ประเทศเอลซัลวาดอร์เป็นประเทศแรกของโลกที่ทดลองการใช้ Bitcoin เป็นสกุลเงินหลักของประเทศ และได้มีการผลักดันให้ประเทศเป็น Bitcoin City เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักลงทุนให้เข้ามาภายในประเทศ นอกจากนี้ได้มีการเปิดตัวพันธบัตรให้กับนักลงทุน แถมยังใช้พลังงานภูเขาไฟในการขุดเหรียญ Bitcoin ด้วย ซึ่งในตอนแรกที่ได้มีการประกาศเรื่องเหล่านี้ออกไปก็ดึงดูดความสนใจได้มากเลยทีเดียว แต่หลังจากที่ราคาของเหรียญกลับอยู่ในช่วงขาลงเรื่องเหล่านี้ก็ดูเหมือนจะซบเซาลงไป

ในปัจจุบันนี้ Bitcoin เป็นเสมือนสินทรัพย์ที่ใช้ในการเก็งกำไรเสียมากกว่าทำให้ราคาของมันมีความผันผวนสูง ซึ่งก็มีผู้เชี่ยวชาญ บางคนมองว่าการทดลองของประเทศเอลซัลวาดอร์ในครั้งนี้มีความเสี่ยงที่สูงและอาจจะเป็นการทดลองที่ไม่ประสบความสำเร็จ แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลปัจจุบันของประเทศเอลซัลวาดอร์ก็ยังบอกว่ามันเป็นการลงทุนในระยะยาว

ปัญหาอื่น ๆ ภายในประเทศเอลซัลวาดอร์

นอกจากการปรับตัวลงของ Bitcoin ทำให้ประเทศขาดทุน ผู้คนจำนวนมากก็ยังขาดความรู้ในการใช้งาน ตอนนี้ประเทศเอลซัลวาดอร์ก็มีเศรษฐกิจที่ไม่ดีมีอัตราเงินเฟ้อที่สูงและที่สำคัญยังเสี่ยงต่อการเบี้ยวหนี้ IMF ที่จะต้องจ่ายในอีก 2 ปีถัดไป สุดท้ายนี้ก็คงต้องมาติดตามดูว่าประเทศเอลซัลวาดอร์จะเอายังไงต่อกับการใช้ Bitcoin ภายในประเทศและจะเบี้ยวชำระหนี้หรือไม่

ข้อมูลจาก สยามบล็อกเชน, Reuters

ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ เศรษฐกิจโลก 
เวปไซด์ mee-money.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook