วิธีการวางแผนการเงิน

3 วิธีการวางแผนการเงิน สำหรับ Startup

START UP เป็นธุรกิจที่เริ่มต้นจากก้าวเล็กๆ เริ่มจากไอเดียที่จะแก้ปัญหาpain pointของคนในสังคม เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยเร่งการเติบโตของธุรกิจให้ก้าวกระโดด แต่มีเงินลงทุนของตัวเองน้อย ทำให้ต้องขอทุนจากเหล่า VC หรือ Angel investor เพื่อนำเงินลงทุนมาพัฒนาธุรกิจของตัวเอง แลกกับการแบ่งหุ้นส่วนให้กับ VC ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจแบบ Startup ต้องวางแผนการใช้เงินลงทุนอย่างคุ้มค่า ทำบัญชีอย่างถูกต้อง วันนีเราจึงมีวิธีวางแผนการเงิน สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ Startup มาฝากกันค่ะ

1.เงินทุน

เงินทุนก้อนแรกที่เราได้มาจากเงินเก็บตัวเอง หรือเงินของนักลงทุน  เราจะต้องใช้เงินเท่าไรในการเริ่มต้นทำ Startup แล้วจำนวนเงินเท่านี้มันเพียงพอไหม การเริ่มต้นทำธุรกิจในช่วงแรกต้องประหยัดค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด เพื่อจะได้มีเงินไปจ่ายเงินเดือนของคนในทีม ซึ่งในช่วงเริ่มต้น Startup อาจจะต้องมีเงินทุนสูง และมีเงินสำรอง ควรวางแผนการใช้เงินทุนอย่างเหมาะสมตามจำนวนเงินทุนที่ได้มา วางแผนการใช้เงินตั้งแต่ระยะสั้น กลาง และยาว  แต่ไม่ควรกู้เงินมาทำธุรกิจในช่วงเบื้องต้น เพราะเรายังไม่รู้เลยว่าสินค้าหรือบริการ แฟลตฟอร์มของเราจะแมสในวงกว้างรึเปล่า เพื่อที่จะได้เผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอน อย่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 

2. สภาพคล่อง

 ทำธุรกิจทั้งที สภาพคล่องดีเป็นเรื่องที่สำคัญ ต้องเตรียมเงินสดในมือให้พร้อม ในการบริหารธุรกิจ เพราะเราจะต้องจ่ายหนี้ตามข้อตกลงที่ได้ตกลงกันไว้ ต้องจ่ายเงินเดือนให้ทีมงานด้วย การมีสภาพคล่องทำให้ธุรกิจราบรื่น นักลงทุนรู้สึกเชื่อถือในตัวผู้ประกอบการ เพราะ นักลงทุนจะดูสภาพคล่อง ความตรงต่อเวลาในการชำระหนี้ กำไร ขาดทุน ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน สภาพคล่องของบริษัทจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ นักลงทุนเลือกลงทุนในบริษัทของคุณ  หากขาดสภาพคล่องคุณจะขาดอำนาจการต่อรองกับคู่ค้า Credit ก็เสีย  

3. กระแสเงินสด

กระแสเงินสดยังคงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการทำธุรกิจ  เรื่องนี้ต้องทำบัญชีให้ละเอียด เราจะได้ทราบกำไร-ขาดทุน และกิจกรรมในการทำให้เงินเข้า และเงินออกมีอะไรบ้าง เราอาจจะจ้างผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี เพราะมันสำคัญมากในการจ่ายภาษีของบริษัท ถึงแม้ Startup จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปีก็จริงค่ะ  เราจะได้ตัดสินใจบริหารเงินได้ถูกว่าควรนำเงินที่เข้ามา มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ เช่น  การจ่ายเงินกู้ การเก็บไว้เป็นเงินสำรองขององค์กร การขยายกิจการ 

ทั้งหมดนี้เป็นเพียง 3 วิธีการบริหารจัดการเงินให้มีประสิทธิภาพ ลองไปประยุกต์ใช้กับองค์กรของตัวเองกันดูนะคะ ถึง Startup จะมีโมเดลธุรกิจที่ดี มีแผนธุรกิจที่ดี แผนการตลาดกำลไงไปได้สวย ทรัพยากรในองค์กรมีคุณภาพ แต่ก็มีสิทธิล้มเหลวได้ เพราะไม่ได้มีการวางแผนด้านการเงิน หรือ เติบโตเร็วเกินไปก็ไม่ดีเช่นกัน

ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ GUรู็ การเงิน 
เวปไซด์ mee-money.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook