เงินดิจิตอลหรือคริปโตเคอเรนซี่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น
ขณะที่เงินดิจิตอลหรือคริปโตเคอเรนซี่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นรัฐบาลหลายๆ ประเทศก็กำลังหาทางออกเกี่ยวกับกฎหมายเพื่อจะใช้ในการควบคุมและกำกับดูแลเงินดิจิตอลแต่ดูเหมือนว่าตอนนี้ในหลายประเทศยังไม่เป็นรูปเป็นร่างมากเท่าไหร่ ถึงแม้ว่าจะมีการพูดถึงบ้างในหลาย ๆ ประเทศแต่ก็ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง
ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ผู้คนจำนวนมากรวมไปถึงมหาเศรษฐีหลายรายสนใจในคริปโตเคอเรนซี่ บางรัฐก็มีการสนับสนุนอย่างเป็นจริงเป็นจังเลยทีเดียว แต่ว่าตอนนี้ในประเทศอเมริกาก็ยังไม่มีกฎหมายออกมาเพื่อควบคุมดูแลเช่นกัน สำนักงานบัญชีกลางสกุลเงิน (Office of the Comptroller of the Currency) และหน่วยงานที่ให้การประกันเงินฝากให้ผู้ฝากเงินในสถาบันรับฝากเงินของสหรัฐ ( Federal Deposit Insurance Corporation ) ก็กำลังวางแผนที่จะวางกฎเกณฑ์และกฎระเบียบของเงินคริปโตเคอเรนซี่ให้ชัดเจนในช่วงปี 2022 นี้หลังจากที่ได้มีการวางแผนและหาวิธีการต่าง ๆ มาตั้งแต่ในช่วงปี 2020 จนถึงปี 2021 ที่ผ่านมา

ซึ่งกฎระเบียบและกฎเกณฑ์ดังกล่าวนั้นจะเน้นไปในเรื่องของการธนาคารเสียมากกว่าประชาชนที่มีการถือครองคริปโต โดยกฎเกณฑ์ดังกล่าวจะเป็นตัวชี้แนวว่าธนาคารสามารถทำอะไรได้บ้างเมื่อต้องการถือครองคริปโตเคอเรนซี่ การอนุญาตให้คนภายในประเทศรับเงินดิจิตอล การใช้งาน Stablecoin และการกู้เงินคริปโตเคอเรนซี่รวมไปถึงการบันทึกค่าเงินบัญชีด้วย วัตถุประสงค์ของการออกกฎหมายดังกล่าวก็คือเพื่อปกป้องนักลงทุน แล้วเพื่อให้ธนาคารสามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม ก่อนหน้านี้ทางสำนักงานบัญชีกลางสกุลเงินประเทศสหรัฐได้อนุญาตให้ธนาคารสามารถถือครองคริปโตสำหรับลูกค้าได้ ใช้งาน Stablecoin ได้ แต่ต้องกระทำด้วยความปลอดภัยและความรับผิดชอบ
สิ่งที่น่าติดตามเลยก็คือตัวบทกฎหมายนั้นจะออกมาเป็นเช่นไรในช่วงปีหน้า เพราะว่ากฎหมายดังกล่าวอาจจะเป็นแม่แบบให้หลาย ๆ ประเทศที่ยังไม่ได้มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับเงินดิจิตอลนำไปทำตามภายในประเทศนั่นเอง

เมื่อหันกลับมามองกฎหมายเกี่ยวกับคริปโตเคอเรนซี่ในประเทศไทยในตอนนี้แม้กระทั่งกฎหมายการจัดเก็บภาษีที่ดูเหมือนจะชัดเจนแต่ก็ยังไม่สามารถใช้งานได้จริง โดยจากข่าวคราวที่ผ่านมาได้มีข่าวว่าในการเก็บภาษีคริปโตนั้นจะต้องหักจากกำไร 15% แล้วยังต้องมีการชำระในช่วงปลายปีอีกด้วย ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาแล้วก็ยังไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากไม่รู้ว่าทุก ๆ คนที่ทำการแลกเปลี่ยนซื้อขายในตลาดจะมีการได้กำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวนเท่าใด ถ้าหากจะตั้งเป็นโปรแกรมให้อยู่ภายในตลาดซื้อขายของแต่ละแพลตฟอร์มก็เป็นเรื่องยากเพราะว่าถ้าเกิดขาดทุนแล้วมีการหักภาษีก็จะเป็นผลเสียต่อนักลงทุนนั่นเองอย่างไรกฎหมายดังกล่าวในประเทศไทยก็คงต้องติดตามดูกันต่อไป

ภาพจาก Pixabay
ข้อมูลจาก The Verge
ติดตามบทความเรื่อง การเงิน การลงทุน และธุรกิจได้ที่ GUรู็ การเงิน
เวปไซด์ mee-money.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook